หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

2,077 แนวทางการตรวจประเมิน วินิจฉัย ติดตามผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะเล็กน้อยโดยไม่มีอาการ (asymptomatic microhematuria)

Diagnosis, evaluation and follow up of asymptomatic microhematuria in adult 
American Urological Association (AUA) Guideline


1. การมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะเล็กน้อยโดยไม่มีอาการ (asymptomatic microhematuria, AMH) หมายถึงการมีเม็ดเลือดแดง (RBC) ตั้งแต่ 3 เซลจากการดูด้วยกล้องจุลทรรศ์ด้วยหัวกำลังขยายสูง (high powered field, HPF) โดยการเก็บรวบรวมตัวอย่างปัสสาวะอย่างถูกต้อง ซึ่งยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การตรวจดัวย dipstick แล้วให้ผลบวกไม่ได้บ่งว่าเป็น AMH และการประเมินผลควรจะใช้เฉพาะผลที่ได้จากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ของตะกอนปัสสาวะจากการปั่นโดยไม่ได้อ่านจาก dipstick, ซึ่งการที่ dipstick อ่านว่าให้ผลบวกควรได้รับการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อยืนยันหรือปฏิเสธการวินิจฉัยของ AMH
2. การประเมินผู้ป่วย AMH ควรจะรวมถึงการสอบถามประวัติโดยละเอียดรอบครอบ, การตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตัดสาเหตุที่ไม่รุนแรงของ AMH เช่น การติดเชื้อ, การเป็นประจำเดือน, การออกกำลังกายที่หนัก,โรคไตที่สามารถให้การรักษาได้ด้วยยา, การติดเชื้อไวรัส, การบาดเจ็บ หรือเพิ่งมีการทำหัตถการของระบบทางเดินปัสสาวะมาไม่นาน
3. เมื่อสาเหตุที่ไม่รุนแรงได้รับการตัดออกแล้ว การมี AMH ควรจะทำการประเมินเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะโดยเร็ว
4. ในบื้องต้นของประเมิน, ควรจะได้รับการประมาณการการทำงานของไต (อาจรวมถึงการคำนวณ eGRF, Cr และ BUN) เพราะโรคที่เกิดจากตัวไตเองซึ่งอาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของไตในระหว่างการประเมินและดูแลผู้ป่วย AMH
5. การมีการผิดรูปร่าง (dysmorphic) ของเซลเม็ดเลือดแดง, การมีโปรตีน, cellular casts และ / หรือ การทำงานของไตลดลง หรือลักษณะทางคลินิกอื่นๆ ซึ่งบ่งชี้ให้สงสัยโรคที่เกี่ยวกับเนื้อไตเป็นสิ่งบ่งว่าควรมีการประเมินระบบไตแต่ก็ยังไม่สามารถตัดการที่จะต้องประเมินระบบทางเดินปัสสาวะโดยรวมออกไปได้
6. AMH เกิดขึ้นในผู้ป่วยซึ่งรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ต้องการการประเมินระบบทางเดินปัสสาวะโดยไม่คำนึงถึงชนิดและระดับของการรักษาด้วยการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
7. ในการประเมินระบบทางเดินปัสสาวะของ AMH  การตรวจโดยการส่องกล้องดูภายในกระเพาปัสสาวะ (cystoscopy) ควรจะทำในผู้ป่วยทุกรายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
8. ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่าอายุ 35 ปี การตรวจโดย cystoscopy อาจจะพิจารณาทำตามที่แพทย์เห็นว่าสมควร
9. Cystoscopy ควรจะดำเนินการกับผู้ป่วยทุกคนที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งทางเดินปัสสาวะ
(เช่น อาการระคายเคืองขณะปัสสาวะ, เคยสูบบุหรี่หรือปัจจุบันสูบอยู่) โดยไม่คำนึงถึงอายุ
10. ประเมินเบื้องต้นสำหรับ AMH ควรจะรวมถึงการประเมินผลการตรวจทางรังสี multi-phasic computed tomography (CT) urography (อาจจะฉีดหรือไม่ฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ) รวมทั้ง sufficient phases เพื่อประเมินลักษณะของเนื้อไตเพื่อตัดแยกภาวะการมีก้อนเนื้อที่ไตออก และตรวจ excretory phase เพื่อประเมินเซลบุในทางเดินปัสสาวะ (urothelium) ของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน ซึ่งเป็นทางเลือกหลักของการตรวจด้านถ่ายภาพเนื่องจากมีความไวสูงสุดและมีความจำเพาะ
11. สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อห้ามแบบสัมพัทธ์หรือข้อห้ามแบบสมบูรณ์ของการตรวจด้วย multi-phasic CT (เช่น การทำงานของไตบกพร่อง, แพ้สารทึบรังสี, ตั้งครรภ์), magnetic resonance urography (MRU) (อาจจะฉีดหรือไม่ฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ) เป็นวิธีการถ่ายภาพทางเลือกที่ยอมรับ
12. สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อห้ามแบบสัมพัทธ์หรือสมบูรณ์ multi-phasic CT (เช่น การทำงานของไตบกพร่อง,
แพ้สารทึบรังสี, ตั้งครรภ์) ขณะที่การตรวจในรายละเอียดของ collecting system มีความจำเป็น การใช้ร่วมกันของ magnetic resonance imaging (MRI) กับ retrograde pyelograms (RPGs) จะเป็นทางเลือกของสำหรับการตรวจประเมินระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนทั้งหมด
13. สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อห้ามแบบสัมพัทธ์หรือสมบูรณ์ multi-phasic CT (เช่น การทำงานของไตบกพร่อง,
แพ้สารทึบรังสี, ตั้งครรภ์) และ MRI (มีโลหะอยู่ในร่างกาย) ขณะที่การตรวจในรายละเอียดของ collecting system มีความจำเป็น การใช้ร่วมกันของ non-contrast CT หรือ  renal ultrasound (US) กับ retrograde pyelograms (RPGs) จะเป็นทางเลือกของสำหรับการตรวจประเมินระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนทั้งหมด
14. การตรวจ cytology ของปัสสาวะและ urine markers (NMP22, BTA-stat, และ UroVysion FISH) ) ไม่แนะนำให้ทำเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจประเมินแบบเป็นประจำ (routine evaluation) ของ AMH
15. ในผู้ป่วย AMH ภายหลังที่การตรวจประเมินให้ผลลบหรือเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ สำหรับ
มะเร็งเฉพาะที่ [carcinoma in situ] (เช่น อาการระคายเคืองขณะปัสสาวะ, เคยสูบบุหรี่หรือปัจจุบันสูบอยู่) การตรวจ cytology อาจจะมีประโยชน์
16. Blue light cystoscopy ไม่ควรใช้ในการประเมินผู้ป่วยด้วยโรค AMH
17. ถ้าผู้ป่วยที่เคยมีประวัติของ AMH อย่างต่อเนื่อง โดยหลังการตรวจปัสสาวะเป็นลบติดต่อกัน 2 ครั้งจากการตรวจประจำปี (หนึ่งครั้งต่อปีเป็นเวลาสองปีนับตั้งแต่เวลาที่ประเมินเบื้องต้น หรือนานกว่านั้น) หลังจากนั้นไม่มีความจำเป็นต้องตรวจปัสสาวะเพิ่มเติมเพื่อวัตถุประสงค์ของการประเมิน AMH
18. สำหรับการมี AMH อย่างต่อเนื่อง หลังจากการตรวจประเมินของระบบทางเดินปัสสาวะเป็นลบ ควรจะทำการตรวจปัสสาวะเป็นประจำทุกปี
19. สำหรับการมี AMH อย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำ หลังจากการตรวจประเมินในเบื้องต้นของระบบทางเดินปัสสาวะเป็นลบ ควรพิจารณาตรวจประเมินภายใน 3-5 ปี

Ref: http://www.auanet.org/content/media/asymptomatic_microhematuria_guideline.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น