American Family Physician
October 15 2012 Vol. 86 No. 8
โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) พบได้บ่อยและเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญ ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากหัวใจและหลอดเลือด เป็นสิ่งที่สำคัญในการระบุโรคและการรักษาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามมีความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับประโยชน์ของบางคำแนะนำของเป้าหมายในการรักษา โดยแนวทางของ National Kidney Foundation Kidney Disease Outcomes Quality Initiative (NKF KDOQI) ได้แนะนำระดับ A1C ควรน้อยกว่าร้อยละ 7 ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการรักษาเพื่อให้ได้เป้าหมายนี้จะช่วยลดเหตุการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจหรือการดำเนินไปสู่โรคไตวายระยะสุดท้าย (end-stage renal disease)
เป้าหมายความดันโลหิตที่ดีที่สุดยังไม่มีข้อยุติ และการศึกษาเพิ่มเติมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อกำหนดเป้าหมายต่างๆ เหล่านี้ร่วมกับความสัมพันธ์ของปริมาณของโปรตีน ในปัสสาวะ การใช้ angiotensin-converting enzyme inhibitors และ angiotensin II receptor blockers ร่วมด้วยถ้านำไปสู่การทำงานของลดลงจะเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำ
การใช้ยาลดไขมันได้แสดงให้เห็นถึงการลดความเสี่ยงของการเกิดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิต แต่ไม่ลดการดำเนินไปสู่โรคไตเรื้อรัง การรักษาภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (erythropoiesis-stimulating agents) และเป้าหมายของระดับฮีโมโกลที่ดีที่สุดยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ การศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงความอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตายเพิ่มขึ้นในการใช้สารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อให้มีฮีโมโกลบินอยู่ในระดับปกติ
ผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังจะมีความเสี่ยงสูงของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากการใช้สารทึบรังสี ซึ่งสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำที่มีความเข้มข้นเท่ากับในเลือดร่วมกับโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือน้ำเกลือได้แสดงให้เห็นว่าช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของไตจากสารทึบรังสี (contrast-induced nephropathy)
สารทึบรังสีที่มีส่วนประกอบของ gadolinium ควรหลีกเลี่ยงถ้าอัตราการกรอง glomerular น้อยกว่า 30 มล. ต่อนาทีต่อ 1.73 m2 เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิด nephrogenic systemic fibrosis
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.aafp.org/afp/2012/1015/p749.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น