เป็นการประเมินอัตราการความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือการเกิดหัวใจขาดเลือดซ้ำหรือเกิดใหม่ หรือต้องทำการเปิดหลอดเลือด (revascularization) ณ. วันที่ 14 ภายหลังการมี acute coronary syndromes โดยเฉพาะจาก unstable angina หรือ non-ST elevation myocardial infarction
การประเมินความเสี่ยงดูจาก TIMI risk score ดังนี้
1. อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี
2. เคยมีภาวะ coronary artery stenosis มากกว่าร้อยละ 50
3. มี cardiac risk factor ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป ดังนี้
-อายุ
-เพศ
-ประวัติครอบครัว
-ไขมันในเลือดสูง
-เบาหวาน
-สูบบุหรี่
-ความดันโลหิตสูง
-อ้วน
4. ใช้แอสไพรินก่อนหน้านี้ไม่เกิน 7 วัน
5. มี angina events เกิดขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
6. ST-segment depression หรือ transient ST-segment elevation
7. Cardiac biomarker เพิ่มขึ้น (CK-MB, troponin I, troponin T)
โดยแต่ละหัวข้อถ้ามีจะได้ 1 คะแนน
ถ้า คะแนน 0-2 = ความเสี่ยงต่ำ
คะแนน 3-4 = ความเสี่ยงปานกลาง
และคะแนน 5-7 = ความเสี่ยงสูง
หรือแปลผลคะแนนเป็นความเสี่ยงได้ดังนี้
คะแนน 0-1 ความเสี่ยง = 4.7%
คะแนน 2 ความ เสี่ยง= 8.3%
คะแนน 3 ความเสี่ยง = 13.2%
คะแนน 4 ความเสี่ยง = 19.9%
คะแนน 5 ความเสี่ยง = 26.2%
คะแนน 6-7 ความเสี่ยงอย่างน้อย 40.9%
Ref:
http://en.wikipedia.org/wiki/TIMI
http://www.mdcalc.com/timi-risk-score-for-uanstemi/
http://ranodhospital.go.th/upload/forum/doc4ecf483bb4c48.doc
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=405
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น