จากกระทู้ก่อนหน้านี้ (กระทู้ 2,045) เรื่องรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 จะขอยกตัวอย่างการนำข้อมูลทางสุขภาพที่ได้มาเพื่อประกอบในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยจะขอยกตัวอย่างข้อมูลการสำรวจโรคความดันโลหิตสูงนะครับ ซึ่งพบว่า
-ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2552 นี้ เท่ากับร้อยละ 21.4 (ชายร้อยละ 21.5 และหญิงร้อยละ 21.3) โดยสัดส่วนของผู้ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงอยู่ที่ร้อยละ 50.3 และสัดส่วนของผู้ที่ได้รับการรักษาอยู่ที่ร้อยละ 41.0 โดยสัดส่วนของกลุ่มได้รับการรักษาและสามารถควบคุมความดันโลหิตได้อยู่ที่ร้อยละ 20.9
-ความชุกของความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นตามอายุจากร้อยละ 2.9 ในกลุ่มอายุ 15-29 ปีและความชุกจะเพิ่มขึ้นตามลำดับจนสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 55.9 โดยที่ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกใกล้เคียงกันทุกกลุ่มอายุ ความชุกของความดันโลหิตสูงของคนในเขตเทศบาลสูงกว่าคนนอกเขตเทศบาลทั้งในชายและหญิง
-ร้อยละ 68.0 ของประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไป เคยได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิต ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลข้างต้นสามารถนำมาใช้การกอบเพื่อการวางแผน การจัดกลวิธีในการตรวจคัดกรองค้นหา การให้การดูแลรักษาติดตาม เพื่อให้เกิดความครอบคลุม เหมะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
Ref: http://www.nheso.or.th/loadfile/NHES4_20Oct10.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น