American Family Physician
September 15 2012 Vol. 86 No. 6
มีนิยามคือการที่มีอาการทางระบบประสาทชั่วคราว (transient ischemic attack, TIA) โดยไม่มีหลักฐานของการขาดเลือด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยและมีความสำคัญสำหรับการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคต แต่ยังไม่เป็นที่เข้าใจเกี่ยกับเรื่องนี้มากนัก อาการที่พบบ่อยคือการเกิดขึ้นแบบฉับพลันและเป็นอยู่ชั่วคราวของอัมพฤกษ์ครึ่ซีก ความผิดปกติของการพูดและตามองไม่เห็นข้างเดียว
การวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่ต้นของภาวะนี้เพื่อแยกกับกับสภาวะที่คล้ายคลึงกันเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะการให้การดูแลรักษาสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ
อาการและอาการ ที่ไม่จำเพาะและการค่อยๆ มีอาการมีแนวโน้มเป็นลักษณะที่เหมือน (mimic) มากกว่าจะเป็น TIA อย่างแท้จริง ซึ่ง TIA มีแนวโน้มจะเป็นมากกว่าในกรณีที่เกิดอาการขึ้นอย่างฉับพลัน มีความผิดปกติของระบบประสาทแบบเฉพาะที่ (focal neurologic deficit) หรือมีความผิดปกติของการพูด
การประเมินผลโดยเร่งด่วนเป็นสิ่งที่จำเป็นในผู้ป่วยที่มีอาการของ TIA และรวมถึงการถ่ายภาพของระบบประสาท (neuroimaging), ภาพถ่ายหลอดเลือดช่วงคอถึงศรีษะ การประเมินทางด้านหัวใจ ระดับความดันโลหิต และการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทำประจำ
ซึ่ง ABCD2 (age, blood pressure, clinical presentation, diabetes mellitus, duration of symptoms) score
ควรจะถูกนำมาใช้ในระหว่างการประเมินเบื้องต้นและสามารถช่วยประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดการขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ โดยผู้ป่วยที่มีคะแนน ABCD2 สูงกว่าควรจะให้การรักษาเป็นผู้ป่วยใน ขณะที่ผู้ที่มีคะแนนต่ำมีความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตและสามารถรักษาแบผู้ป่วยนอกได้
การให้การดูแลภายหลังการเกิด TIA มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำในอนาคตหรือการโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งความดันโลหิตสูง, การที่ยังสูบบุหรี่อยู่, โรคอ้วน, ขาดการออกกำลังกาย, โรคเบาหวานและภาวะไขมันผิดปกติ เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง และการควบคุมปัจจัยเหล่านี้สามารถ
ก่อให้เกิดผลอย่างมากต่อการเกิด TIA และความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
สำหรับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลภายใน 48 ชั่วโมงหลังการดีขึ้นของ TIA ซึ่งข้อดีของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรวมถึงการประเมินการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและการให้การดูแลรักษาเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองสำหรับการป้องกันในระยะยาวของโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต สมาคมแพทย์โรคหัวใจของอเมริกัน/สมาคมโรคหลอดเลือดสมองของเมริกันแนะนำยาต้านเกล็ดเลือด, ยากลุ่ม statin และการทำ carotid artery intervention สำหรับกรณีที่มีการตีบของหลอดเลือดมาก
Aspirin, extended-release dipyridamole/aspirin และ clopidogrel เป็นที่ยอมรับว่าเป็นยาซึ่งเลือกเป็นลำดับแรกของยาต้านเกล็ดเลือด โดยที่ statins ยังได้แสดงให้เห็นว่าสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่เกิดตามหลัง TIA โดยประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อลดระดับ LDL ลงอย่างน้อยร้อยละ 50 หรือเป้าหมายน้อยกว่า 70 มก.ต่อเดซิลิตร (1.81 มิลลิโมลต่อลิตร)
สำหรับผู้ที่มี TIA และหลอดเลือดแดงคาโรติด (carotid artery) ตีบ การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ เพื่อนำเอาคราบอุดตันในหลอดเลือดออกจากผนังของหลอดเลือด (carotid endarterectomy) ได้รับการแนะนำถ้าการตีบอยู่ในช่วง 70-99% โดยการเจ็บป่วยและการเสียชีวิยซึ่งเป็นผลแทรกซ้อนจากผ่าตัดนั้นคาดว่าจะน้อยกว่า 6%
Ref: http://www.aafp.org/afp/2012/0915/p521.html
and http://www.aafp.org/afp/2012/0915/p527.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น