หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

1,998 Intermittent androgen suppression for rising PSA level after radiotherapy

Original article
N Engl J Med  September 6, 2012

ที่มา การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยการยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพศชาย หรือ testosterone (ซึ่ง testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมน androgen ชนิดหนึ่ง) โดยการให้การรักษาแบบเป็นช่วงๆ (intermittent androgen deprivation) ในกรณีที่มีการเพิ่มขึ้นของ prostate-specific antigen (PSA) หลังจากการได้รับรังสีรักษาอาจช่วยให้คุณภาพชีวิตและทำให้ความดื้อต่อฮอร์โมนช้าลง โดยการประเมินการรอดชีวิตโดยรวมของการรักษาแบบเป็นช่วงๆ เปรียบเทียบกับการให้การรักษาแบบต่อเนื่อง (continuous androgen deprivation) ในการศึกษาแบบ noninferiority randomized trial
วิธีการศึกษา โดยการลงทะเบียนผู้ป่วยที่มีระดับ PSA มากกว่า 3 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรคงอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 1 ปีหลังจากการรักษาด้วยรังสีรักษาแบบ primary หรือ salvage ในมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดเป็นเฉพาะที่ (ocalized prostate cancer) ในการรักษาแบบเป็นช่วงๆ 1 รอบเท่ากับระยะเวลา 8 เดือน ร่วมกับช่วงระยะเวลาที่ไม่ใช่ช่วงของรักษา เพื่อดูความสัมพันธ์กับระดับ PSA โดย primary end point  คือการรอดชีวิตโดยรวม ส่วน secondary end points ประกอบด้วยคุณภาพชีวิต ระยะเวลาที่ลดลงของการดื้อต่อการรักษา และช่วงเวลาที่ไม่ใช่ช่วงให้การรักษา
ผลการศึกษา จากผู้ป่วยที่เข้าร่วมศึกษา 1,386 คน โดย 690 คนถูกสุ่มให้การรักษาแบบเป็นช่วงๆ และ 696 คนให้การรักษาแบบต่อเนื่อง โดยติดตามเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 6.9 ปี พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญในเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบเป็นช่วงๆ การกลับคืนของฮอร์โมน testosterone เกิดขึ้นในผู้ป่วย 35% และกลับคืนสู่ระดับที่เริ่มเข้าศึกษาพบว่าเกิดขึ้น 79%
การรักษาแบบเป็นช่วงๆ มีแนวโน้มให้ประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในด้านการทำงานของร่างกาย, ความอ่อนเพลีย, ปัญหาของระบบปัสสาวะ, อาการร้อนวูบวาบ, ความรู้สึกทางเพศและการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
มีผู้เสียชีวิต 268 คนในกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบเป็นช่วงๆ และ 256 คนในกลุ่มที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ยของการรอดชีวิตโดยรวมอยู่ที่ 8.8 ปีในกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบเป็นช่วงๆ เมื่อเทียบกับ 9.1 ปีในกลุ่มที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง (hazard ratio สำหรับการเสียชีวิต, 1.02; ช่วงความเชื่อมั่น 95% 0.86-1.21) อัตราการเสียชีวิตสะสมที่เกี่ยวข้องกับโรคในช่วงเวลา 7 ปี อยู่ที่ 18% และ 15% ในทั้งสองกลุ่มตามลำดับ (p = 0.24)
สรุป การให้การรักษาแบบเป็นช่วงๆ มิได้ด้อยไปกว่าการรักษาแบบต่อเนื่องในประเด็นอัตราการรอดชีวิตโดยรวม โดยที่ปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตบางอย่างดีขึ้นด้วยการรักษาแบบเป็นช่วงๆ

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1201546?query=featured_home

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น