วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

2,019 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและความเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวิกฤต

Hypoglycemia and risk of death in critically ill patients
Original article
N Engl J Med    September 20, 2012

ที่มา เป็นการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในระดับปานกลางและรุนแรง (ระดับน้ำตาลในเลือด 41-70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร [2.3-3.9 มิลลิโมลต่อลิตร] และที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร [2.2 มิลลิโมลต่อลิตร] ตามลำดับ) และการเสียชีวิต ในผู้ป่วยวิกฤต 6,026 คนในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICUs) ผู้ป่วยได้รับการสุ่มเพื่อให้การควบคุมระดับน้ำตาลแบบเข้มข้นหรือให้การควบคุมแบบเดิม โดยใช้ Cox regression analysis ร่วมกับการปรับสำหรับรูปแบบการรักษาที่ได้รับและสำหรับพื้นฐานและตัวแปรร่วมภายหลังการสุ่ม
ผลการศึกษา เป็นการติดตามข้อมูลในผู้ป่วย 6,026 คน โดย 2,714 (45.0%) มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในระดับปานกลาง ซึ่งในจำนวนดังกล่าวพบว่า 2,237 คน (82.4%) อยู่ในกลุ่มที่ให้การควบคุมแบบเข้มข้น  และ 223 คน (3.7%) มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดต่ำอย่างรุนแรง โดยพบว่า 208 คน (93.3%) อยู่ในกลุ่มที่ควบคุมอย่างเข้มข้น
โดยในผู้ป่วยจำนวน 3,089 คนที่ไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มี 726 คน (23.5%) เสียชีวิตเมื่อเทียบกับ 774 คนจาก 2,714 คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับปานกลาง (28.5%) และ 79 คนจาก 223 คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรง (35.4%)
Adjusted hazard ratios ของการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในระดับปานกลางหรือรุนแรงเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็น 1.41 (95% confidence interval [CI], 1.21-1.62, P น้อยกว่า 0.001) และ 2.10 (95% CI, 1.59-2.77 P น้อยกว่า 0.001) ตามลำดับ
ความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในระดับปานกลางมากกว่า 1 วัน (มากกว่า 1 วันเทียบกับที่ 1 วัน, p = 0.01), ผู้ที่เสียชีวิตจากการ distributive shock ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด (p น้อยกว่า 0.001) และผู้ที่มี ภาวะน้ำตาลในเลือดอย่างรุนแรงในกรณีที่ไม่มีการรักษาด้วยอินซูลิน (hazard ratio, 3.84, 95% CI, 2.37-6.23, P น้อยกว่า 0.001)
สรุป ในผู้ป่วยหนัก การควบคุมระดับน้ำตาลแบบเข้มข้นนำไปสู่การภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำปานกลางและรุนแรงซึ่งทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ขึ้นของการเสียชีวิต ซึ่งแสดงให้เห็นได้โดยความสัมพันธ์แบบ dose–response และมีความสัมพันธ์ที่มากที่สุดของการเสียชีวิตกับการมี distributive shock
อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
เพิ่มเติม
Distributive shock เป็นการ shock ที่ total intravascular volume มากกว่า หรือ เท่ากับปกติ แต่ไปรวมอยู่ในบริเวณที่ไม่มีประโยชน์จริงต่อการไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย (ref: http://dmsrsu.thaikm4u.com/blog/chaisit-c/63)

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1204942

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น