วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

1,991 ข้อควรทราบเรื่อง การคำนวนดัชนีอัลบูมินต่อครีอะตินินในปัสสาวะแบบสุ่ม (albumin: creatinine ratio, ACR)

การตรวจเพื่อหาอัลบูมินในปัสสาวะเป็นการตรวจเพื่อหาสิ่งบ่งชี้ของการมีการเสื่อมของไตหรือการที่จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังรวมถึงเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งเราอาจจะคุ้นเคยกับการตรวจนี้กันแล้ว
ดัชนีอัลบูมินต่อครีอะตินินในปัสสาวะแบบสุ่ม (albumin: creatinine ratio, ACR) นอกจากเป็นการตรวจที่ให้ความถูกต้องมากกว่าจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการตรวจมาตรฐานแล้วยังมีความสะดวก รวดเร็ว ใช้แพร่หลายเมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจอัลบูมินจากปัสสาวะ 24 ชม. เนื่องจากการตรวจอัลบูมินจากปัสสาวะ 24 ชมต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บ อุปกรณ์ที่มากกว่า ความร่วมมือจากผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ต้องให้คำแนะนำโดยละเอียด และอาจเก็บได้ไม่ครบ (จากการศึกษาพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งเก็บได้ไม่ครบ) ส่วนข้อเสียของดัชนีอัลบูมินต่อครีอะตินินในปัสสาวะแบบสุ่มคือ มีความแปรปรวนระหว่างวัน มีความผันแปรในเรื่องของเชื้อชาติ อายุ เพศ ปริมาณของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นเหตุผลให้มีค่าแตกต่างกันในแต่ละสถาบันและการมีค่าแตกต่างกันในผู้หญิงและผู้ชาย
สูตรการคำนวน : อัลบูมินต่อครีอะตินินในปัสสาวะแบบสุ่ม(มก./กรัม) 
                                อัลบูมินในปัสสาวะ (มก./ดล.)/ครีอะตินินในปัสสาวะ(กรัม/ดล.) 
                   
ซึ่งผลที่ได้เทียบใกล้เคียงกับปริมาณอัลบูมินที่ออกมาในปัสสาวะต่อวัน (โดยมีหน่วยเป็นกรัม)
ซึ่งค่าหน่วยต่างๆ ของการตรวจวัดนี้ก็อาจแตกต่างกันไป เช่น มก./กรัม, ไมโครกรัม/มก. หรือ มก./มิลลิโมล แต่ก็สามารถเทียบให้เป็นหน่วยเดียวกันได้ทั้งหมด (ศึกษาเพิ่มเติมจากในอ้างอิง) โดยค่าที่ใช้ในการแปลผลก็มีแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบัน เช่น ADA มีค่าปกติอยู่ที่น้อยกว่า 30 มก./กรัม, ESH/ESC มีค่าปกติในผู้ชายอยู่ที่น้อยกว่า 22 มก./กรัม ในผู้หญิงอยู่ที่น้อยกว่า 31 มก./กรัม ส่วนของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยมีค่าปกติในผู้ชายอยู่ที่น้อยกว่า 17 มก./กรัม ในผู้หญิงอยู่ที่น้อยกว่า 25 มก./กรัม เป็นต้น

Ref: http://www.budhosp.go.th/journal/modules/wfdownloads/visit.php?cid=30&lid=235
http://nkdep.nih.gov/resources/quick-reference-uacr-gfr-508.pdf
http://ndt.oxfordjournals.org/content/22/8/2194.full

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น