คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น ที่เพิ่งออกมาใหม่ของปี 2555 นี้
-โปรตีน (protein) คือสารอาหารชนิดหนึ่ง ช่วยในการเสริมสร้าง และซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานเชื้อโรค ผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อสภาวะของโรคเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต เมื่อรับประทานโปรตีนเข้าไปร่างกายจะทำการย่อยโปรตีนเป็นกรดอะมิโนและไนโตรเจน ซึ่งกรดอะมิโนเป็นส่วนที่ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์
-ควรรักษาให้อัลบูมินในซีรั่มมีระดับตั้งแต่ 3.5 กรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งควรมีการประเมินทุก 3 เดือน
-โดยการประเมินปริมาณโปรตีนที่ผู้ป่วยรับประทาน (dietary protein intake) รวมถึงการใช้แบบบันทึกการรับประทานอาหารของผู้ป่วย (food record)-ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมกับระยะของโรค และน้ำหนักที่ควรจะเป็น (Ideal body weight) โดยสามารถคำนวนได้คร่าวๆ ดังนี้
โปรตีนที่ผู้ป่วยควรบริโภคต่อวัน (กรัม) = น้ำหนักที่ควรจะเป็น (กิโลกรัม) x โปรตีนที่เหมาะสมกับระยะของโรค (กรัม)
-โดยน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็นของผู้ป่วยคิดแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและชาย สามารถคำนวนได้ดังนี้
น้ำหนักที่ควรจะเป็น (ideal body weight) ของผู้ชาย (กิโลกรัม) = ส่วนสูง (เซนติเมตร) – 100
น้ำหนักที่ควรจะเป็น (ideal body weight) ของผู้หญิง (กิโลกรัม) = ส่วนสูง (เซนติเมตร) – 105
-โปรตีนที่เหมาะสมกับระยะของโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 อยู่ระหว่าง 0.8-1.0 กรัมโปรตีนต่อน้ำหนักที่ควร
จะเป็น 1 กิโลกรัม
-และโปรตีนที่เหมาะสมกับระยะของโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 อยู่ระหว่าง 0.6-0.8 กรัมโปรตีนต่อน้ำหนักที่ควรจะเป็น 1 กิโลกรัม
-โดยมากกว่า 60 % ของโปรตีนที่ผู้ป่วยควรบริโภคต่อวัน ควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี (High Biological Value – HBV) คือมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน
-ซึ่งรายละเอียดของโปรตีนที่มีคุณภาพดีมีอะไรบ้างและรายละเอียดของการประเมินสามารถอ่าต่อได้ตามอ้างอิงด้านล่างครับ
อ้างอิง คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น
http://www.nephrothai.org/news/news.asp?type=PR&news_id=337
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น