หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

2,006 การแยกระหว่าง stroke และ mimic stroke ที่เตียงผู้ป่วย

Distinguishing between stroke and mimic at the bedside
Stroke  2006; 37: 769-775

ที่มา การประเมินทางคลินิกที่เตียงของผู้ป่วยซึ่งสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ยังไม่ได้รับการศึกษาดีพอ  ซึ่งการพัฒนาปรับปรุงทักษะทางคลินิกอาจจะทำให้การตรวจที่แผนกฉุกเฉินเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความถี่และธรรมชาติของสิ่งที่มีลักษณะเหมือนโรคหลอดเลือดสมอง (stroke mimics) และเพื่อระบุลักษณะทางคลินิกที่สำคัญซึ่งเป็นแยกความแตกต่างระหว่างทั้งสองสภาวะโดยการตรวจที่เตียงผู้ป่วย
วิธีการศึกษา ศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมาที่โรงพยาบาลที่มีการเรียนการสอนอยู่ในเขตเมือง โดยทำการประเมินทางคลินิกตามมาตรฐานที่เตียงผู้ป่วย และให้การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะประเมินลักษณะทางคลินิก, การตรวจด้านภาพถ่ายของสมอง และการทดสอบอื่น ๆ ทำการวิเคราะห์ตัวแปรตัวเดียวและหลายตัวแปรเพื่อแยกภาวะทั้งสอง
ผลการศึกษา ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยมี 350 แบบโดยผู้ป่วย 336 คน การวินิจฉัยในขั้นสุดท้ายว่าเป็นลักษณะของโรคหลอดเลือดสมอง 241 จาก 350 แบบ (69%) และลักษณะเหมือนโรคหลอดเลือดสมอง 109 แบบ (31%) ซึ่งลักษณะเหมือนโรคหลอดเลือดสมองจะรวมถึง 44 เหตุการณ์ ที่ระบุว่าอาจจะเป็นโรคโรคหลอดเลือดสมองหรือ TIA
มี 8 รายการอิสระที่เป็นตัวทำนายการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความบกพร่องของการรับรู้และความผิดปกติของอาการแสดงในระบบอื่น ๆ ที่สนับสนุนว่ามีลักษณะเหมือนโรคหลอดเลือดสมอง, เวลาที่แน่นอนของการเกิดอาการ, มีอาการเฉพาะที่ชัดเจน, การพบความผิดปกติของหลอดเลือด, การมีอาการแสดงทางระบบประสาท, การสามารถบอกอาการแสดงของความผิดปกติของสมองซีกซ้ายหรือขวา และการที่สามารถแบ่งย่อยชนิดทางคลินิกในกรณีที่สงสัยโรคหลอดเลือดสมอง
สรุป การประเมินทางคลินิกที่เตียงผู้ป่วยสามารถเพิ่มความรวดเร็วได้เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความสำคัญสำหรับการเรียนการสอนของแพทย์ที่ยังมีประสบการณ์ไม่มากเกี่ยวกับวิธีการประเมินผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

Ref: http://stroke.ahajournals.org/content/37/3/769.full

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น