Management of renal colic
Clinical review
BMJ 29 August 2012
สรุปประเด็นสำคัญ
-อาการปวดจะมีลักษณะปวดบีบ ๆ เป็นพัก ๆ ของท้องเนื่องการมีนิ่วจากไตผ่านเข้าไปในท่อปัสสาวะ (renal colic) เป็นลักษณะที่พบได้บ่อย (ความเสี่ยงตลอดชีวิต 12% ในผู้ชาย, 6% ในผู้หญิง) ก่อให้เกิดอาการปวดและภาวะแทรกซ้อน
-การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยไม่ฉีดสารทึบรังสีเป็นการตรวจทางเลือกหลักทางด้านภาพถ่าย (imaging method) เนื่องจากมีความไวและความจำเพาะสูง
-ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เป็นยาลดอาการปวดเริ่มแรกที่ดีที่สุด โดยโอปิออยด์เป็นยาทางเลือกลำดับที่สอง
-กว่า 80% ของนิ่วจะผ่านออกมาได้เอง และมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นซึ่งสนับสนุนการรักษาด้วยยาเพื่อให้นิ่วแตกตัว
-ผู้ป่วยที่มีการอุดตันร่วมกับการติดเชื้อ ควรมีการแก้ไขภาวะการอุดตันอย่างเร่งด่วนที่มีทั้งการใส่สายสวนผ่านทางผิวหนังเข้าไปในกรวยไต (percutaneous nephrostomy) หรือการใส่ขดลวดแบบใส่ย้อนขึ้นไป (retrograde stent)
-การส่องกล้องเข้าท่อไต (ureteroscopy) และการใช้คลื่่นเสียงความถี่สูงส่งพลังไปสู่ก้อนนิ่วทำให้ก้อนนิ่วแตกออกเป็นก้อนเล็กๆ (extracorporeal shockwave lithotripsy) เป็นการรักษาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสำหรับนิ่วในท่อไต
อ่านต่อ http://www.bmj.com/content/345/bmj.e5499
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น