Use of the 6-hour sepsis resuscitation bundle was associated with reductions in mortality and hospital costs
Journal Watch Emergency Medicine September 7, 2012
J Intensive Care Med 2012 Aug 17
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง และโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 6 แห่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินการตามหลักฐานข้อมูลโดยการทำตาม sepsis resuscitation bundle (อ่านความหมายของ bundle จากเพิ่มเติมด้านล่าง) ภายใน 6 ชั่วโมงแรกในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะติดเชื้อ (sepsis)
2. การส่งเลือดเพาะเชื้อก่อนเริ่มยาปฏิชีวนะ
3. การเริ่มให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum antibiotic) ภายใน 3 ชั่วโมงแรกในกรณี admit จาก ER และภายใน 1 ชั่วโมงแรกในกรณีไม่ได้ admit จาก ER
4. รักษาภาวะความดันโลหิตต่ำและ/หรือ ภาวะที่มีระดับ serum lactate สูงขึ้นตั้งแต่ 4 mmol/L ขึ้นไปโดย
- ให้สารน้ำเริ่มต้นเป็น crystalloid 20 mL/kg หรือ colloid ในขนาดเทียบเท่ากัน
- ถ้ายังมีภาวะความดันโลหิตต่ำหลังให้สารน้ำเบื้องต้นไปแล้ว ให้ vasopressors เพื่อให้ mean arterial pressure (MAP) มากกว่า 65 mm Hg
5. ถ้ายังมีภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะได้รับสารน้ำเพื่อแก้ไขแล้ว (เป็นภาวะ septic shock) โดย serum lactate สูงขึ้นตั้งแต่ 4 mmol/L ขึ้นไป
-Central venous pressure (CVP) ที่เหมาะสมคือตั้งแต่ 8 mmHg ขึ้นไป
-Central venous oxygen saturation (ScvO) ที่เหมาะสมคือตั้งแต่ 70% ขึ้นไป
ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการนำ bundle มาใช้จำนวน 952 คนและภายหลังที่จะมีการนำ bundle มาใช้จำนวน 4,109 จาก 8 โรงพยาบาล พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยก่อนที่จะมีการนำ bundle มาใช้ (43% เทียบกับ 29%)
ในการวิเคราะห์ของผู้ป่วยที่รักษา 1,294 คนที่รับการรักษาในโรงพยาบาลที่แตกต่างกัน 3 แห่งหลังการนำ bundle มาใช้ พบว่าอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วย 602 คนที่ไม่ได้รับการใช้ bundle อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อเทียบกับผู้ป่วย 692 คนที่ได้รับการใช้ bundle อย่างเต็มรูปแบบ (42% เทียบกับ 27%)
ในการวิเคราะห์โดยรวม พบว่าระยะเวลาทื่อยู่ในโรงพยาบาลสั้นลง 5.1 วัน และ 24-hour APACHE-II และ SOFA scores ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มได้การรักษา (ผู้ป่วย 4,109 ที่ได้รับรักษา และ 692 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ bundle อย่างเต็มรูปแบบ) มากกว่าในกลุ่มควบคุม (ผู้ป่วย 952 คนได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการนำ bundle มาใช้ และผู้ป่วย 602 คนที่ไม่ได้รับการใช้ bundle อย่างเต็มรูปแบบ)
ผู้เขียนสรุปว่าการใช้ sepsis resuscitation bundle สัมพันธ์กับกับการลดลงของระยะเวลาในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและอัตราเสียชีวิตความมีนัยสำคัญ โดยทุกๆ การรักษาผู้ป่วย 7 คน จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ 1 คน
ในหัวข้อความเห็นได้กล่าวไว้ว่า การศึกษาแบบสังเกตนี้สนับสนุนการดำเนินงานของการใช้ sepsis resuscitation bundle ทั้งในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิและการประยุกต์ใช้ของ bundle ในวงกว้างกับผู้ป่วยทั้งหมดที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ
เพิ่มเติม
ซึ่ง bundle หรือ care bundle ในเรื่องทางการแพทย์ หมายถึง รูปแบบแนวทางของวิธีปฏิบัติที่จัดทำเป็นชุดเดียวกัน โดยการรวบรวมข้อมูลมาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในผู้ป่วย
(Ref: http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/download/2010/Care_Bundle/Concept%20of%20Care%20Bundle.pdf)
Ref: http://emergency-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/907/1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น