วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

1,997 ความสัมพันธ์ของหลอดเลือดแดงของปอดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกับการกำเริบเฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Pulmonary arterial enlargement and acute exacerbations of COPD
Original article 
N Engl J Med   September 6, 2012

ที่มา การกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) จะสัมพันธ์กับการทำให้การสูญเสียทำงานของปอดและการเสียชีวิตเกิดเร็วขึ้น การระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสำหรับภาวะนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ภาวะความดันสูงในปอดรุนแรงเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เป็นมากแล้วและช่วยทำนายการกำเริบเฉียบพลัน แม้ว่าความผิดปกติของหลอดเลือดในปอดนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นของการดำเนินโรค โดยตั้งสมมติฐานว่า การคำนวณโดยใช้ computed tomographic (CT) เพื่อตรวจวัดการมีโรคของหลอดเลือดในปอด {การที่มีหลอดเลือดแดงของปอดขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งกำหนดโดยอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดงปอด (pulmonary artery) ต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดเอออร์ต้า (aorta) [PA:A ratio]
ที่มากกว่า1 จะมีสัมพันธ์กับการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รุนแรง
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาจากในหลายศูนย์ โดยผู้เข้าร่วมในการศึกษาเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ในปัจจุบันและอดีตซึ่งมีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อการระบุความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราส่วนของ PA: A ที่มากกว่า 1 และประวัติในขณะที่เข้าร่วมการศึกษาซึ่งเกิดการกำเริบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และศึกษาประโยชน์ของอัตราส่วนในการใช้เพื่อทำนายเหตุการณ์ในการติดตามระยะยาวของการศึกษานี้ เช่นเดียวกับใน external validation cohort
โดยใช้ logistic-regression และ zero-inflated negative binomial regression analyses เพื่อวิเคราะห์และปรับสำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทราบว่ามีผลต่อการกำเริบ
ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ด้วย multivariate logistic-regression analysis แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างอัตราส่วนของ PA:A ที่มากกว่า 1 และประวัติของการกำเริบรุนแรง ณ. ช่วงเวลาของการเข้าร่วมในการศึกษา (odds ratio, 4.78; ช่วงความเชื่อมั่น [CI] 95% , 3.43-6.65 P น้อยกว่า 0.001)
อัตราส่วนของ PA:A ที่มากกว่า 1 ยังมีความสัมพันธ์แบบอิสระกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นการกำเริบของโรคในอนาคตของทั้งสองกลุ่มทดลอง (odds ratio, 3.44, 95% CI, 2.78-4.25, P น้อยกว่า 0.001) และ external validation cohort (odds ratio, 2.80, 95% CI, 2.11-3.71, P น้อยกว่า 0.001)
โดยในทั้งสอง cohorts จากตัวแปรทั้งหมดที่วิเคราะห์พบว่าอัตราส่วนของ PA:A ที่มากกว่า 1 มีความสัมพันธ์เป็นอย่างมากกับการกำเริบรุนแรง
สรุป การที่หลอดเลือดแดงในปอดมีขนาดใหญ่ (อัตราส่วนของ PA:A มากกว่า 1) ซึ่งตรวจโดยใช้ CT scan มีความสัมพันธ์กับการกำเริบรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1203830

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น