1. กลุ่ม biguanide (metformin) ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ถ้าระดับ Cr มากกว่า 1.5 มก./ดล. ในผู้ชาย, 1.4 มก./ดล. ในผู้หญิง (บางอ้างอิงแนะนำว่าไม่ควรใช้เมื่อ eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตรม. และลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่ง เมื่อ eGFR อยู่ในช่วง 30-60 มล./นาที/1.73 ตรม.
2. กลุ่ม sulfonyluria
-Chlorpopamide ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
-Glybenclamide ไม่แนะนำให้ใช้ถ้า eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตรม.
-Glipizide และ gliclazide สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา แต่ต้องระวังในผู้ป่วยที่ eGFR น้อยกว่า 10 มล./นาที/1.73 ตรม.
3. กลุ่ม alpha-glucosidase inhibitor ได้แก่ acarbose และ miglitol ไม่แนะนำถ้า eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตรม.
4. กลุ่ม metiglinide (repaglinide) สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา ส่วน nateglinide จำเป็นต้องลดขนาดยาลง และไม่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตรม.
5. กลุ่ม thiazolidinedione สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา ต้องระวังภาวะบวมและหัวใจวายจากการที่มีเกลือและน้ำคั่ง
6. กลุ่ม dipeptidyl peptidate-4 (DPP-4) inhibitor ยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยระยะยาวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ยาที่มีใช้ในประเทศไทยได้แก่ sitagliptin หรือ vildagliptin แต่ควรลดขนาดยาลงจากขนาดยาปกติ
7. อินซูลิน เป็นยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อ eGFR น้อยกว่า 30 มล./นาที/1.73 ตรม. แต่ควรมีการปรับขนาดยา โดยลดขนาดลง 25% เมื่อ eGFR อยู่ในช่วง 10-50 มล./นาที/1.73 ตรม. ลดขนาดลง 50% เมื่อ eGFR น้อยกว่า10 มล./นาที/1.73 ตรม.
อ้างอิง:
คู่มือ การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น
โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น