วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1,939 Hypothyroidism

American Family Physician
August 1 2012 Vol. 86 No. 3

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism) เป็นความผิดปกติทางคลินิกที่พบบ่อยโดยแพทย์ปฐมภูมิ การไม่ได้รักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยสามารถนำไปสู่​​ความดันโลหิตสูง, ความผิดปกติของไขมันในเลือด, ภาวะมีบุตรยาก, ความบกพร่องทางสติปัญญาและความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติพบว่าประมาณ 1 ใน 300 คนในหรัฐอเมริกามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุและในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยอาจเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการทำงานล้มเหลวของต่อมธัยรอยด์เองหรือการกระตุ้นต่อมไม่เพียงพอโดยไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมอง โรคภูมิต้านทานต่อตนเองของไทรอยด์ (autoimmune thyroid disease) เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยในประเทศสหรัฐอเมริกา
อาการทางคลินิกของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยไม่มีความจำเพาะ และอาจจะมีความซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ การประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ดีที่สุดของการทำงานของต่อมไทรอยด์คือการตรวจ hyroid-stimulating hormone (TSH) ไม่มีหลักฐานว่าการตรวจคัดกรองในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการจะทำให้เกิดผลลัพท์ที่ดีขึ้น
โดยส่วนใหญ่ของผู้ป่วย สามารถให้การบรรเทาอาการได้โดยการรับประทาน levothyroxine ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะต้องให้การรักษาตลอดชีวิต การให้การรักษาร่วมกันของ triiodothyronine / thyroxine ไม่ได้มีข้อดีมากไปกว่าการให้ thyroxine เดี่ยวๆ และไม่ได้เป็นการรักษาที่แนะนำ
ในผู้ป่วยที่ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยไม่แสดงอาการซึ่งมีความเสี่ยงสูงของการนำไปสู่โรคทางคลินิก และผู้ที่อาจได้รับการพิจารณาเพื่อให้การรักษา รวมถึงผู้ป่วยที่มีระดับของ TSH มากกว่า 10 mIU/L และผู้ที่มีระดับ thyroid peroxidase antibodye titers เพิ่มสูงขึ้น

อ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2012/0801/p244.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น