Arthritis Rheum. 2012 Aug;64(8)
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเริ่มต้นของยา allopurinol และการเกิด AHS ยังไม่เป็นที่ทราบ การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยา allopurinol และการเกิด AHS
วิธีการศึกษา เป็นการ retrospective case-control study ของผู้ป่วยด้วยโรคเกาต์ที่เกิด AHS ระหว่างเดือนมกราคมปี 1998 ถึงกันยายนปี 2010 สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนที่เกิด AHS จะได้รับการเปรียบเทียบกับผู้ป่วย 3 คนที่เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งเป็นโรคเกาต์ที่ได้รับ allopurinol แต่ไม่ได้เกิด AHS
ผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมได้รับการจับคู่กับผู้ป่วยที่ศึกษาในเรื่องของเพศ การใช้ยาขับปัสสาวะในช่วงเวลาที่เริ่ม allopurinol, อายุ (± 10 ปี) และการประเมินอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate, estimated GFR) ขนาดยาเริ่มต้นและขนาดยาในช่วงเวลาที่เกิดปฏิกิริยาได้รับการเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยเป็นกลุ่มศึกษาและที่เป็นกลุ่มควบคุม
ผลการศึกษา โดยมีผู้ป่วยที่เกิด AHS 54 คน และผู้ป่วยควบคุม 157 คน พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงของ AHS ในช่วงเริ่มต้นของการให้ยา ซึ่งได้มีการปรับอัตราการกรองของไตที่เพิ่มขึ้น สำหรับ quintile สูงสุดของการขนาดที่เริ่มการรักษาต่ออัตราการกรองของไต มี odds ratio เป็น 23.2 (p น้อยกว่า 0.01) จากการวิเคราะห์แบบ receiver operating characteristic ชี้ให้เห็นว่า 91% ของ AHS และ 36% ของกลุ่มควบคุมได้รับยา allopurinol เริ่มต้นที่มากกว่า 1.5 mg ต่อหน่วยของ GFR (นาที mg/ml /minute)
สรุป ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าขนาดเริ่มต้นของ allopurinol ที่ 1.5 มิลลิกรัมต่อหน่วยของอัตราการกรองของไต อาจจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ลดลงของ AHS และในผู้ป่วยที่ทนต่อ allopurinol ได้ สามารถจะค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นเพื่อให้ระดับของยูเรตในเลือดบรรลุตามเป้าหมาย
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22488501?dopt=Abstract
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น