Original article
N Engl J Med August 30, 2012
ที่มา Lacunar infarcts เป็นชนิดของโรคหลอดเลือดสมองซึ่งพบได้บ่อยโดยสาเหตุหลักเกิดจากโรคของหลอดเลือดเล็กๆ ในสมอง ประสิทธิภาพของยาต้านเกล็ดเลือดในการป้องกันแบบทุติยภูมิยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างชัดเจน
วิธีการศึกษา โดยเป็นการศึกษาแบบ double-blind ในหลายศูนย์การแพทย์ ในผู้ป่วย 3,200 คน ซึ่งเพิ่งมีอาการของ lacunar infarcts โดยการตรวจด้วย MRI ผู้ป่วยได้รับการให้ clopidogrel 75 มก./วัน หรือยาหลอก โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับ aspirin 325 มก./วัน ผลลัพท์หลักได้แก่การเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ ทั้งชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออกในกระโหลกศรีษะ
ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษามีอายุเฉลี่ย 63 ปี และ 63% เป็นผู้ชาย หลังจากการติดตามเฉลี่ย 3.4 ปี ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญของการได้รับทั้ง aspirin และ clopidogrel (การรักษาโดยยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดร่วมกัน) (มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 125 คน; อัตรา 2.5% ต่อปี) เมื่อเทียบกับ aspirin อย่างเดียว (138 คน, อัตรา 2.7% ต่อปี) (hazard ratio, 0.92; ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI], 0.72-1.16) ไม่ได้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดชนิดขาดเลือดซ้ำ (hazard ratio, 0.82; 95% CI, 0.63-1.09) หรือลดการเกิดความพิการไร้ความสามารถหรือการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (hazard ratio, 1.06; 95% CI, 0.69-1.64) ความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกที่สำคัญเป็นเกือบสองเท่าจากการให้ยาต้านเกล็ดเลือดสองตัวคู่กัน (พบการมีเลือดออก105 คน, 2.1% ต่อปี) เมื่อเทียบกับ aspirin อย่างเดียว (56 คน, 1.1% ต่อปี) (hazard ratio, 1.97, 95% CI, 1.41-2.71, P น้อยกว่า 0 .001) และจากการแบ่งชนิดของภาวะสมองขาดเลือดซ้ำพบว่า 71% (133 จาก 187 คน) เป็น lacunar strokes และพบว่าการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดร่วมกัน (77 คนเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้ aspirin อย่างเดียว เทียบกับ 113 คน ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดร่วมกัน) (hazard ratio, 1.52, 95% CI, 1.14-2.04, p = 0.004); โดยความแตกต่างนี้ยังไม่ได้คิดผู้ที่เสียชีวิตจากการมีเลือดออก (9 คนในกลุ่มที่ไได้รับการรักษาโดยยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดร่วมกัน เทียบกับ 4 คนในกลุ่มที่ได้รับ aspirin อย่างเดียว)
สรุป ในกลุ่มผู้ป่วยที่เพิ่งเป็น lacunar strokes การให้ clopidogrel ร่วมกับกับแอสไพรินไม่ได้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกและการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1204133?query=featured_home
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น