หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1,981 การรักษาลิ้นหัวใจเอออร์ต้าตีบ (aortic stenosis)

พบผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ต้าตีบได้เรื่อยๆ จึงทบทวนแนวทางการรักษา เป็นดังนี้

1. มีลิ้นตีบแต่ถ้าไม่มีอาการ ให้ทำ doppler echocardiography
-ถ้าเป็นเล็กน้อยถึงปานกลาง ติดตามผู้ป่วย ถ้ามีอาการให้ตรวจ echocardiography ซ้ำ ถ้าพบว่าเป็นรุนแรง ให้การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้น
-ถ้ายังไม่มีอาการแต่จากการตรวจพบมีการเปลี่ยนแปลงจากการตรวจร่างกาย ให้ตรวจ echocardiography ซ้ำ ถ้าพบว่าเป็นเล็กน้อยถึงปานกลางให้ติดตามต่อเนื่อง (ทุก 12 เดือน)
-ถ้า echocardiography เป็นรุนแรง ให้ทำ exercise stress test
       ถ้าปกติให้ติดตามทุก 6 เดือน ให้การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นถ้ามีอาการ
       ถ้าผิดปกติ ให้การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้น
2. ลิ้นตีบเล็กน้อยถึงปานกลางและมีอาการ ให้หาสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการ 
3. ลิ้นตีบรุนแรงและมีอาการ ให้การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้น

เพิ่มเติม
-ลิ้นเอออร์ต้าปกติจะมีพื้นที่ 3-4 ตารางเซนติเมตร ในช่วงแรกมักจะยังไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อพื้นที่ลดลงเหลือน้อยกว่า 1 ใน 4 อาการได้แก่ อาการหัวใจล้มเหลว อาการหน้ามืดเป็นลม และอาการเจ็บหน้าอก ส่วนการประเมินความรุนแรงโดยการใช้ doppler echocardiography สามารถศึกษาได้ในกระทู้ก่อนๆ ที่เคยทำไว้ครับ
-การทำ exercise stress test เพื่อดูภาวะ exercise induced hemodynamic instability
-สำหรับการขยายลิ้นด้วยบอลลูนในผู้ใหญ่ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการมีแคลเซียมมาเกาะ ซึ่งวิธีนี้สามารถเพิ่มพื้นที่ลิ้นได้ 0.3 ตารางเซนติเมตร และมีภาวะแทรกซ้อนสูงมากกว่าร้อยละ 10 และเกิดการตีบซ้ำภายใน 6-12 เดือน จึงมีข้อบ่งชี้จำกัดซึ่งใช่ในบางกรณี (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากในอ้างอิงที่ 1)

Ref: HEART: cardiac diagnosis and treatmment อ. อภิชาต สุคนธสรรรพ์ และ อ. ศรัณย์ ควรประเสริฐ
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp010846

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น