พบผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษและ atrial fibrillation (AF) ได้เรื่อยๆ จึงทบทวนเรื่องนี้ดูครับ
AF เกิดขึ้น 15% ในผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษเทียบกับ 4% ประชากรทั่วไปและพบได้บ่อยมากขึ้นในผู้ป่วย triiodothyronine (T3) toxicosis อุบัติการณ์ของ atrial fibrillation (AF) เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และพบว่า subclinical hyperthyroidism เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้น 3 เท่าในการเกิด AF
และพบว่ามีการเพิ่มอุบัติการในผู้สูงอายุ โดยผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีและเป็นไทรอยด์เป็นพิษพบว่าเกิด AF ได้ 25% - 40% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงว่าอายุที่มากขึ้นจะลด threshold ของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษมีอิทธิพลต่อการกำเนิดของกระแสไฟฟ้าโดยกระตุ้นให้อัตราการเต้นหัวใจเร็วขึ้น (chronotropic effect) และการนำกระแสไฟฟ้า (dromotropic effect)
มีกลไกหลายอย่างที่อาจจะก่อให้เกิดผลของฮอร์โมนไทรอยด์ต่อความเสี่ยง AF รวมทั้งการเพิ่มระดับของความดันในหัวใจห้องบนซ้ายจากการเพิ่มขึ้นของมวลหัวใจห้องล่างซ้าย และเกิดความผิดปกติของการคลายตัวของหัวใจห้องล่าง การขาดเลือดจากที่มีการอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้นขณะพักและเพิ่มการทำงานของ eopic atrial และการมี reentry ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลไกหลักที่นำไปสู่การเกิด AF AF มีโอกาสเกิดมากขึ้นหาก effective refractory periods สั้นและการนำกระแสไฟฟ้าช้า hyperthyroidism มีความเกี่ยวข้องกับการสั้นลงของระยะเวลา action potential ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิด AF
มีการศึกษาขนาดใหญ่พบว่าการเกิดใหม่ของ AF น้อยกว่า 1% ที่เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษซึ่งเป็นมาก ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีการตรวจระดับ thyroid-stimulating hormone (TSH) ในเลือด ในผู้ป่วยทุกคนที่เพิ่งเกิด AF เพื่อตัดภาวะโรคไทรอยด์ ซึ่งความสัมพันธ์นี้พบได้ไม่บ่อยในภาวะที่ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะไทรอยด์เป็นพิษเพิ่มเติม
ผู้ป่วยอายุมากที่เป็น AF นานมากกว่า 1 ปี มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมด้วยในภาวะไทรอยด์เป็นพิษและ AF
การรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษสามารถทำให้ AF เปลี่ยนเป็น sinus rhythm ได้ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย
อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.thyroidresearchjournal.com/content/2/1/4/
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ