วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1,973 Primary hyperaldosteronism

มีผู้ป่วยหญิงซึ่งมีความดันโลหิตสูงและมีโปแตสเซียมในเลือดต่ำมีภาวะเลือดเป็นด่าง สงสัยว่าอาจจะเป็น primary aldosteronism ได้ส่งต่อ รพศ. ผลปรากฏว่าเป็น primary hyperaldosteronism จริง และผู้ป่วยกลับมารักษาต่อที่ รพช. จึงทบทวนเรื่องนี้ครับ
Primary hyperaldosteronism ((อาจเรียก Conn's syndrome หรือ aldosterone-producing adrenal tumor หรือ hyporeninemic hyperaldosteronism) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการสร้างฮอร์โมน aldosterone ที่มากกว่าปกติจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (ซึ่งคำว่า primary หมายถึงที่ต่อมหมวกไตเอง) โดยการสร้างนี้ไม่อยู่ในการควบคุมของ renin angiotensin aldosterone axis (RAAS) เดิมเคยคิดว่าสาเหตุพบมากที่สุดคือ adrenal adenoma แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า bilateral idiopathic adrenal hyperplasia เป็นสาเหตุได้ถึง 70% (แต่บางกรณีอาจเป็น unilateral adrenoma ได้) ซึ่งความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีความสำคัญเพื่อที่จะกำหนดการรักษา ส่วน adrenal carcinoma พบได้น้อยมากที่จะเป็นสาเหตุของ primary hyperaldosteronism และก้อนมักมีขนาดใหญ่
ผู้ป่วยจะมีลักษณะ ความดันโลหิตสูงที่มักดื้อต่อยาที่ใช้รักษาร่วมกับการมีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ มีโปแตสเซียมในปัสสาวะสูงขึ้น (มากกว่า 30 mEq/24 ชม. ในขณะที่ไม่ได้รับโปแตสเซียม) มีภาวะเลือดเป็นด่าง โดย primary aldosteronism พบได้น้อยกว่า 1% ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่ปัจจุบันมีรายงานว่าพบได้มากขึ้น และผู้ป่วยอาจจะมีระดับโปแตสเซียมในเลือดปกติได้
การตรวจทางห้องปฏิบัตการเพิ่มเพื่อการวินิจฉัยจะพบระดับ aldosterone สูง ระดับ renin ต่ำ และตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของต่อมหมวกไต (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ถ้าตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วไม่พบก้อนที่ชัดเจน อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการทำ adrenal vein sampling ส่วนการทำ postural test ใช้เพื่อแยกระหว่าง adrenal adenoma กับ bilateral adrenal hyperplasia (ซึ่งการตรวจมีรายละเอียดมากขอให้อ่านศึกษาตามอ้างอิงอีกครั้งครับ)
การรักษา ถ้าเป็น adrenal adenoma ให้การรักษาโดยการผ่าตัด
ถ้าเป็น bilateral adrenocortical hyperplasia ให้การรักษา ด้วยยา aldosterone antagonist

Ref: Clinical practice guideline ทางอายุรกรรม 2548 
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://en.wikipedia.org/wiki/Hyperaldosteronism
http://en.wikipedia.org/wiki/Conn's_syndrome

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น