วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1,952 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกดหน้าอกและผลลัพท์ ในภาวะหัวใจหยุดเต้น

Relationship between chest compression rates and outcomes from cardiac arrest
Circulation. 2012 Jun 19

ที่มา แนวทางสำหรับการช่วยฟื้นคืนชีพแนะนำให้ใช้อัตราการกดหน้าอกอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที การศึกษาในสัตว์และมนุษย์ได้รายงานว่าการไหลเวียนของเลือดจะมากที่สุดที่อัตราการกดหน้าอกใกล้ๆ 120 ครั้งต่อนาที แต่มีข้อมูลไม่มากที่รายงานเกี่ยวกับอัตราการกดหน้าอกที่ใช้ในระหว่างอยู่นอกโรงพยาบาล (out-of-hospital, OOH) ในการการช่วยฟื้นคืนชีพหรือความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกดหน้าอกและผลลัพท์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือเพื่ออธิบายอัตราการกดหน้าอกที่ใช้โดยหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินในการช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอก รพ. และเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกดหน้าอกและผลลัพท์
วิธีการและผลการศึกษา ได้รวบรวมผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นภายนอก รพ. ซึ่งได้รับการรักษาโดยหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินร่วมกับ Resuscitation Outcomes Consortium (ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพและการบาดเจ็บ) ข้อมูลถูกดึงออกจากการบันทึกของ monitor-defibrillator ในระหว่างการช่วยฟื้นคืนชีพ ใช้การวิเคราะห์แบบ multiple logistic regression เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกดหน้าอกและผลลัพท์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2005 - พฤษภาคม 2007, มีผู้ป่วยจำนวน 3,098 คน ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นภายนอก รพ. ได้ถูกรวมไว้ในการศึกษาครั้งนี้ อายุเฉลี่ย 67 ± 16 ปีและมี 8.6% รอดชีวิตจนสามารถกลับออกจากโรงพยาบาล อัตราการกดหัวใจเฉลี่ยอยู่ที่ 112 ± 19 ครั้งต่อนาที เส้นโค้งความสัมพันธ์ (curvilinear association) ระหว่างอัตราการการกดหน้าอกและการกลับมามีการไหลเวียนพบในรูปแบบ cubic spline ภายหลังจากการที่มีการปรับหพหุตัวแปร (P = 0.012)
การกลับมามีการไหลเวียนสูงสุดพบว่าอัตราการกดหน้าอกอยู่ที่ ≈ 125 /min ครั้งต่อนาที อัตราการกดหน้าอกไม่ได้มีสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการมีชีวิตอยู่รอดจนกลับออกจาก โรงพยาบาล  multivariable categorical หรือ cubic spline models
สรุป อัตราการกดน้าอกมีความสัมพันธ์กับผลลัพท์ของการกลับมามีการไหลเวียน แต่ไม่สัมพันธ์กับการมีชีวิตอยู่รอดได้กลับออกจากโรงพยาบาลจากการที่หัวใจหยุดเต้นภายนอก รพ.

อ่านต่อ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22623717?dopt=Abstract

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น