วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1,945 การใช้อัลตราซาวนด์เปรียบเทียบกับการใช้ตำแหน่งทางกายวิภาคเพื่อการเจาะระบายฝีรอบต่อมทอนซิล

Randomized Trial Comparing Intraoral Ultrasound to Landmark-based Needle Aspiration in Patients with Suspected Peritonsillar Abscess

Acad Emerg Med. 2012 Jun;19(6)

วัตถุประสงค์ แต่เดิมแล้วแพทย์ฉุกเฉิน (emergency physicians, EPs) ใช้ตำแหน่งทางกายวิภาคเพื่อใช้เข็มเจาะดูดในการระบายฝีรอบต่อมทอนซิล (peritonsillar, PTAs) หากไม่ประสบความสำเร็จจะทำการตรวจโดยถ่ายภาพ ( imaging study) และ/หรือการส่งปรึกษาเพื่อดำเนินการระบายหนองต่อ เมื่อเร็ว ๆ นี้
แพทย์ฉุกเฉินบางส่วนได้นำอัลตราซาวนด์มาใช้เพื่อระบายหนอง การศึกษานี้มุ่งที่จะตรวจสอบว่าวิธีการตรวจโดยใช้อัลตร้าซาวด์ตั้งแต่เริ่มต้นนำไปสู่ความสำเร็จในการระบายหนองที่มากขึ้น โดยวัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้คือเพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของการวินิจฉัยฝีรอบต่อมทอนซิลหรือการติดเชื้อของต่อมทอนซิล (peritonsillar cellulitis, PTC) โดยการใช้อัลตร้าซาวด์เข้าทางช่องปาก หรือการใช้เข็มเจาะดูดโดยการดูจากตำแหน่งทางกายวิภาค (landmark technique, LM) ส่วนวัตถุประสงค์รองคือการประสบความสำเร็จในการเจาะดูดหนอง โดยแขนหนึ่งใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (Computed Tomography, CT) ส่วนอีกแขนหนึ่งปรึกษาแพทย์โสตศอนาสิก (ENT)
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาแบบ prospective, randomized, controlled clinical trial ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่แห่งเดียวในเขตเมือง ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนซึ่งมีอาการและอาการแสดงที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นฝีรอบต่อมทอนซิล ผู้ป่วยถูกสุ่มให้ได้รับการใช้อัลตร้าซาวด์เข้าทางช่องปากหรือโดยดูตำแหน่งทางกายวิภาคเพื่อการระบายหนอง โดยใช้อัลตร้าซาวด์ความถี่ 8-5 MHz หัวตรวจชนิด intracavitary เมื่อนำหัวตรวจออกแล้วผู้ทำอัลตร้าซาวด์ก็จะทำการเจาะดูดต่อ การระบายโดยดูตำแหน่งทางกายวิภาคจะทำการดูดจากส่วนบนลงถึงส่วนล่างจนกระทั่ง ได้หนองหรืออย่างน้อยสองครั้ง มีการให้ยาระงับความรู้สึกตามมาตรฐาน ผู้ป่วยได้รับการนัดติดตามใน 2 วันที่วินิจฉัยขั้นสุดท้าย
ผลการศึกษา มีผู้ป่วย 28 รายที่ลงทะเบียน โดยมี 14 คนในแต่ละแขนของการศึกษา การใช้อัลตร้าซาวด์ให้การวินิจฉัยที่ถูกมากกว่าการดูตำแหน่งทางกายวิภาค [(100%, ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI] = 75% - 100% เทียบกับ 64%, 95% CI = 39% - 84% p = 0.04)]
อัลตร้าซาวด์ยังนำไปสู่​​การประสบความสำเร็จมากขึ้นในการเจาะดูดหนองมากกว่าการดูตำแหน่งทางกายวิภาค [(100%, 95% CI = 63% -100% เทียบกับ 50%, 95% CI = 24% 76% p = 0.04)], อัตราการปรึกษา ENT คือ 7% (95% CI = 0% - 34%) สำหรับอัลตร้าซาวด์เมื่อเทียบกับ 50% (95% CI =% 27-73%) ของการดูจากตำแหน่งทางกายวิภาค (p = 0.03) อัตราการใช้ CT 0% สำหรับการใช้อัลตร้าซาวด์เมื่อเทียบกับ 35% สำหรับการดูตำแหน่งทางกายวิภาค (p = 0.04)
สรุป การใช้อัลตร้าซาวด์เข้าทางช่องปากตั้งแต่ในระยะแรกโดยแพทย์ฉุกเฉินสามารถให้การวินิจฉัยฝีรอบต่อมทอนซิลหรือการติดเชื้อของต่อมทอนซิลได้อย่างน่าเชื่อถือ นอกจากนี้การใช้อัลตร้าซาวด์เข้าทางช่องปากเพื่อช่วยในการระบายหนองโดยการใช้เข็มเจาะดูดจะนำไปสู่​​ความสำเร็จมากขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการดั้งเดิมซึ่งอาศัยการดูตำแหน่งทางกายวิภาคจากตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียว

อ่านต่อ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22687177?dopt=Abstract

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น