Doppler effect เป็นปรากฏการณ์ที่ความถี่และความยาวของคลื่นเปลี่ยนแปลงไปเมื่อแหล่งกำเนิดหรือผู้สังเกตเกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการตรวจทางการแพทย์
โดยคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจากการกระทบกับเม็ดเลือดที่กำลังเคลื่อนอยู่ในหลอดเลือดจะมีความถี่เปลี่ยนไป ถ้าเม็ดเลือดไหลเข้าหาหัวตรวจความถี่จะสูงขึ้น และความถี่จะลดลงถ้าเม็ดเลือดไหลออกจากหัวตรวจ นอกจากจะสามารถบอกทิศทางการไหลของเลือดแล้ว doppler อัลตร้าซาวด์ ยังสามารถคำนวณความเร็วได้ซึ่งจะนำไปใช้บอกความรุนแรงของการตีบแคบของหลอดเลือด หรือทางผ่านของเลือด เช่นลิ้นหัวใจ โดยใช้หลักที่ว่าน้ำจะไหลเร็วขึ้นเมื่อผ่านท่อที่แคบลงความเร็วของเม็ดเลือดจะถูกนำไปเป็นแกนตั้ง โดยมีเวลาเป็นแกนนอน กราฟที่ได้เรียกว่า spectral waveform หลอดเลือดแดง, ดำของแขน ขา หรือส่วนต่างๆของลำตัวจะมี waveform ต่างกันและความผิดปกติของ waveform ในตำแหน่งหนึ่งอาจจะเหมือน waveform ปกติของอีกตำแหน่งได้ waveform ที่ผิดปกติจะบ่งถึงสาเหตุเช่น stenosis, occlusion, arteriovenous fistula ชนิดของ doppler สามารถแบ่งได้เป็นหลายแบบ เช่น
Pulse wave doppler ultrasound (PW) เป็นเทคนิคที่ตัวให้กำเนิดคลื่นเสียงหรือ transducer ตัวเดียว ส่งสัญญาณออกไปเป็นจังหวะ และรับคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาเป็นจังหวะเช่นกัน มีประโยชน์ในการใช้คำนวณระยะหรือความลึกของวัตถุเป้าหมาย แต่มีข้อจำกัดที่ความเร็วของวัตถุเป้าหมาย
Continuous wave doppler ultrasound (CW) เป็นเทคนิคที่มีตัวให้กำเนิดคลื่นเสียงหรือ transducer 2 ตัว ส่งสัญญาณออกไปและรับกลับอย่างต่อเนื่องมีความไวในการจับวัตถุเป้าหมายที่ผ่านแนวลำของคลื่นเสียงและส่งกลับ มาหาความเร็วในการเคลื่อนไหว วิธีนี้เหมาะในการวัดความเร็วของการไหลเวียนเลือด
Color flow doppler ultrasound เป็น pulse wave doppler แบบหนึ่ง แต่คลื่นเสียงที่สะท้อนกลับสามารถแสดงผลเป็นสีได้ โดยถ้าวัตถุเป้าหมายหรือมีการไหลเวียนของเลือดเข้าหา transducer จะแสดงออกเป็นสีแดง แต่ถ้าเคลื่อนออก จะแสดงเป็นสีน้ำเงิน มีประโยชน์ในการบอกทิศทางการไหลของเลือด
Spectral doppler ultrasound รูปแบบของการแสดงผลบนกราฟ จะบอกความเร็วการไหลเวียนเลือดบน แกน Y และแสดงเวลาบนแกน X และนำมาวิเคราะห์รูปคลื่นเสียงต่อไป
Ref: http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=412:doppler&catid=40&Itemid=482
http://www.med.cmu.ac.th/student/rad/US_wannee/US_STU.htm
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=583
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น