Circulation
2012; 126: 126-132
บทความนี้จะอธิบายถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของพลังงานที่ได้รับเข้ามา (หรือจากการบริโภค) กับพลังงานที่ใช้ และการเก็บสะสมพลังงานของร่างกายและแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจถึงสมดุลพลังงานที่สามารถช่วยให้เราพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดความอ้วน
ประการแรก การลดความอ้วนต้องปรับเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากการบริโภคและพลังงานที่ใช้ ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปที่อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว การจำกัดอาหารอย่างเดียวจะไม่มีประสิทธิภาพในการลดความอ้วนถ้าสรีรวิทยาของมนุษย์มีการเอนเอียงไปทางด้านของความสมดุลของพลังงานในระดับสูง (เช่น การรับเข้าในระดับสูงและการใช้พลังงานในระดับที่สูง) สภาพแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา การใช้พลังงานจำนวนมากผ่านทางกิจกรรมการทำงาน แต่ในสภาพแวดล้อมในปัจจุบันซึ่งมักจะนั่งๆ นอนๆ เป็นหลักจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น การลงตัวของพลังงานที่รับเข้ามาต่อการใช้พลังงานในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้สำหรับคนส่วนใหญ่มากกว่าการจำกัดการบริโภคอาหารเพื่อตอบสนองระดับของการใช้พลังงานที่ต่ำ ประการสอง จากในมุมมองของจุดสมดุลของพลังงาน เรามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักมากกว่าในการรักษาโรคอ้วน ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมากมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดและการคงอยู่ของการลดน้ำหนัก แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็กน้อยอาจจะเพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น แนวคิดของสมดุลพลังงานร่วมกับความเข้าใจวิธีการที่ร่างกายจะบรรลุความสมดุลอาจจะเป็นกรอบการปฏิบัติที่มีประโยชน์เพื่อการพัฒนากลยุทธ์ในการลดอัตราการเิกิดโรคอ้วน
Ref: http://circ.ahajournals.org/content/126/1/126.extract
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น