Journal of clinical oncology
June 11, 2012
วัตถุประสงค์ หลักฐานใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่ายา metformin อาจลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านม แต่เป็นรายงานที่เป็นข้อมูลรวมๆ และมีจำนวนไม่มากที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของเนื้องอก ดังนั้นเราจึงประเมินความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวาน, การใช้ยา metformin, และมะเร็งเต้านมในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เข้าร่วมใน Women's Health Initiative clinical trials
ผู้เข้าร่วมและวิธีการศึกษา เป็นสตรีวัยหมดประจำเดือนรวมทั้งหมด 68,019 คน มีผู้เป็นโรคเบาหวาน 3,401 คน ค่าเฉลี่ยของการติดตามอยู่ที่11.8 ปี มีจำนวน 3,273 คนที่ได้รับการรวินิจฉัยว่าเป็น invasive breast cancers สภาวะของอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานได้รับการเก็บรวบรวมและติดตามร่วมกับข้อมูลการใช้ยาที่เก็บรวบรวมในปีที่1, 3, 6 และ 9 มะเร็งเต้านมได้รับการยืนยันโดยข้อมูลเวชระเบียนกลางและการรายงานผลทางพยาธิวิทยา โดยใช้ Cox proportional hazards regression, การปรับปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานที่ได้รับยา metformin หรือที่ไม่ได้รับ และเปรียบเทียบกับอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมในสตรีที่ไม่มีโรคเบาหวาน
ผลการศึกษา เมื่อเทียบกับในสตรีที่ไม่มีโรคเบาหวาน พบว่าอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในสตรีเป็นโรคเบาหวานมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน (p = 0.04) ผู้หญิงที่มีโรคเบาหวานที่ได้รับยาอื่นที่ไม่ใช่ยา metformin มีอุบัติการณ์สูงขึ้นเล็กน้อยจากโรคมะเร็งเต้านม (hazard ratio [HR], 1.16, 95% CI, 0.93-1.45) และผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานผู้ที่ได้รับยา metformin มีอุบัติการณ์เกิดเต้านมมะเร็งต่ำกว่า (HR, 0.75, 95% CI, 0.57-0.99) จากการสังเกตพบความสัมพันธ์ว่าโรคมะเร็งมีผลบวกของทั้ง estrogen receptor และ progesterone receptor และมีผลลบสำหรับ human epidermal growth factor receptor 2
สรุป การใช้ยา metformin ในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดที่ต่ำกว่าของโรคมะเร็งเต้านมชนิด invasive breast cancer ผลลัพธ์เหล่านี้สามารถนำเสนอให้มีการศึกษาในอนาคตเพื่อประเมินการใช้ยา metformin ในการรักษาและการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม
Ref: http://jco.ascopubs.org/content/early/2012/06/11/JCO.2011.39.7505
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น