จากการศึกษาพบว่า การตรวจ fecal occult blood เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะเริ่มต้น สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคได้ถึงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทำ polypectomy แล้วพบว่าเป็นมะเร็งในระยะแรกเริ่ม
ข้อดี สามารถทำได้ง่าย เหมาะสำหรับการใช้ในปริมาณมาก โดยเฉพาะในระดับประเทศ สามารถจัดตั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ ราคาไม่แพง และไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ข้อจำกัด การเก็บตรวจอุจจาระ (ต้องทำโดยเก็บใส่ในภาชนะที่กำหนดโดยห้ามสัมผัสกับน้ำ) มักทำให้ผู้รับการตรวจไม่ร่วมมือเท่าที่ควร การเก็บตรวจโดยใช้วิธีตรวจทวารหนัก (per rectal examination) เพียงอย่างเดียว หรือเก็บเพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอในการใช้เป็นการตรวจคัดกรอง นอกจากนี้ ความไว (sensitivity) ในการตรวจยังค่อนข้างต่ำตั้งแต่ร้อยละ 4.9-57
วิธีการตรวจ stool occult blood ที่ใช้ในปัจจุบันมี2 วิธีหลักคือ
1. Guiac-based fecal occult blood test (G-FOBT)
เป็นการตรวจอุจจาระเพื่อหา peroxides-like activity ของ hematin หรือผลิตภัณฑ์เลือดในอุจจาระซึ่งบ่งบอกว่ามีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารเกิดขึ้นหรือไม่ถ้าการตรวจให้ผลบวกโดยที่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารที่มีเนื้อแดง วิตามินซีผลไม้สีแดง และยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs ก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 3 วัน รวมทั้งมีข้อสงสัยทางคลินิกก็ให้พิจารณาการตรวจโดย double contrast barium enema (DCBE) หรือการส่องกล้องต่อไป โดยขึ้นกับความพร้อมของบุคลากรและเครื่องมือในแต่ละแห่ง
คำแนะนำ ควรใช้ guiac-based test (non rehydrated technique) ปีละครั้งเป็นการตรวจคัดกรองในผู้ที่ไม่มีอาการที่อายุ 50 ปีขึ้นไป หากผลการทดสอบเป็นบวกให้พิจารณาตรวจด้วย colonoscopy แต่หากให้ผลลบให้ติดตามการตรวจซ้ำอย่างสม่ำเสมอทุก 1 ปี
2. Quantitative immunochemical fecal occult blood test
เป็นการตรวจที่จำเพาะสำหรับตรวจหา humanhemoglobinในอุจจาระโดยวิธี reversepassive hemagglutination ข้อดีของการตรวจวิธีนี้คือไม่จำเป็นต้องจำกัดอาหารก่อนตรวจและสามารถตรวจหาระดับของ hemoglobin ให้ต่ำลงมาเพื่อที่จะนำผลไปประยุกต์ใช้ในการเลือกผู้ป่วย
สำหรับการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เป็นการตรวจอุจจาระที่เพิ่มความไวขึ้นโดยใช้เป็น immunochemical test ซึ่งมีความไวเท่ากับหรือมากกว่า guiac-based test และมีความจำเพาะ (specificity) มากขึ้น ทำให้ลดการทำ colonoscopy ที่ไม่จำเป็นลงได้ แต่ราคาค่อนข้างสูง
Ref: http://www.nci.go.th/cpg/download%20lumsai/02.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น