หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,931 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ การตรวจคัดกรองโรคในประชากรทั่วไป (mass screening) และการตรวจคัดกรองแบบสมัครใจ (voluntary screening)
การตรวจคัดกรองโรคในประชากรทั่วไป (mass screening)
-อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง โดยการสอน บอกประโยชน์และข้อจำกัด ถ้ามีอาการสงสัยควรตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน
-อายุ 40-49 ปี ตรวจด้วยตนเองเป็นประจำ และตรวจด้วยโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนทุก 1 ปี
-อายุ 70 ปี ขึ้นไป พิจารณาเป็นรายบุคคล โดยพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงจากการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammography) ในเรื่องของสภาวะสุขภาพในขณะนั้นและการมีชีวิตอยู่ต่อไป (life expectancy)
การตรวจคัดกรองแบบสมัครใจ (voluntary screening)
-อายุ 20 ปีขึ้นไป  ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง โดยการสอน บอกประโยชน์และข้อจำกัด ถ้ามีอาการสงสัยควรตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน อย่างน้อยทุก 3 ปี
-อายุ 40-49 ปี ตรวจด้วยตนเองเป็นประจำ และตรวจด้วยโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนทุก 1 ปี และตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมทุก 1-2 ปี ถ้าสถานบริการมีความพร้อม
-อายุ 70 ปี ขึ้นไป พิจารณาเป็นรายบุคคล โดยพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงจากการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammography) ในเรื่องของสภาวะสุขภาพในขณะนั้นและการมีชีวิตอยู่ต่อไป (life expectancy)
ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง การตรวจคัดกรองเหมือนหญิงทั่วไป แต่ต้องเริ่มตรวจเร็วขึ้น เช่นญาติสายตรงเป็นที่อายุ 40 ปี ควรทำการคัดกรองโดยลบอายุ 40 ออกด้วย 5 คือที่ 35 ปี และตรวจทุก 1 ปี
กลุ่มเสี่ยงได้แก่
-มีประวัติญาติสายตรง ได้แก่ มารดา พี่สาว น้องสาว และบุตร เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่
-มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
-เคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณหน้าอก ได้แก่ ผู้ที่เป็น Hodgkin's disease หรือ non- Hodgkin lymphoma เป็นต้น
-มีประวัติการตัดชิ้นเนื้อเต้านมแล้วมีผลเป็น atypical duct hyperplasia
-รับประทานฮอร์โมนทดแทนหลังหมดประจำเดือนเป็นประจำเกิน 5 ปี
-อายุ 40 ปีขึ้นไป
(จากข้อมูลหลักฐานในปัจจุบันพบว่าวิธีที่ดีที่สุดและคุ้มค่าที่สุดคือการตรวจคัดกรองแบบ mass screening, แม้จะมีการศึกษาว่า การตรวจเต้านมด้วยตนเองไม่ได้มีผลลดอัตราการเสียชีวิต แต่ถือเป็นวิธีการคัดกรองที่ประหยัด เหมาะสมกับประเทศไทยและสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง)


หมายเหตุ แต่ถ้าดูในแนวทางของต่างประเทศ จะพบว่าจะมีการใช้การตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมร่วมด้วยในแนวทางของทุกๆ สถาบัน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างในกลุ่มอายุและประเด็นการพิจารณาอื่นๆ ซึ่งสามารถศึกษาได้ตามลิ้งค์นี้ ลิ้งค์

Ref: http://www.nci.go.th/cpg/download/3.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น