หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,930 ความรู้เรื่อง Human Papilloma Virus (HPV)

Human Papilloma Virus (HPV) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันพบ HPV มากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่พบว่ามีมากกว่า 40 สายพันธ์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ทั้งในเพศชายและเพศหญิง และยังก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปากและในลำคอด้วยแสายพันธ์ที่เกี่ยวข้องบ่อยๆ ได้แก่  6,11,16 และ 18
โดยสายพันธ์ 6 และ 11 เป็นสายพันธ์ที่ไม่รุนแรงก่อให้เกิดมะเร็งได้ต่ำ แต่เป็นสาเหตุหลักของ
การเกิดโรคหูดหงอนไก่ถึง 90%
สายพันธ์16 และ 18 เป็นสายพันธ์ที่รุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 70%  (ถ้ารวมสายพันธ์ 16, 18, 31 และ 45 ด้วย อาจเป็น 80%).
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตัวเองได้มีการติดเชื้อแล้ว ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ถ้ามีอาการได้แก่การเกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะสืบพันธ์ น้อยมากที่จะพบในลำคอ ส่วนมะเร็งปากมดลูฏพบได้น้อยกว่าแต่มีความรุนแรงรวมถึงการเกิดมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธ์ของทั้งสองเพศ ทวารหนัก ในช่องปากและคอหอย
การติดต่อ ติดต่อกันโดยทางเพศสัมพันธ์ น้อยมากที่ถ่ายถอดจากแม่สู่ลูกในระหว่างคลอด
การตรวจวินิจฉัย เชื้อ HPV บางครั้งสามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อ แต่การตรวจ Pap Smear นั้นไม่สามารถที่จะวินิจฉัยโรคได้แน่นอนยกเว้นการตรวจชนิดพิเศษคือการตรวจ DNA ของ HPV เช่นใช้วิธีการตรวจโดยการทำ polymerase chain reaction (PCR) และ Hybrid Capture 2 ซึ่งเมื่อตรวจพบผลผิดปกติของ Pap Smear แพทย์มักจะทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกไปตรวจ เป็นต้น
การป้องกัน
วัคซีน 3 ครั้ง โดยจะมีประสิทธิภาพที่สุดถ้าให้ช่วงอายุ 11-12 ขวบ และสามารถให้ในช่วงอายุ 13-26 ปี ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนในช่วงก่อนหน้านี้ และสามารถเริ่มให้วัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ และปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันในผู้ชายจากการเกิดหูดหนอนไก่และมะเร็งทวารหนักซึ่งเหมาะสมในช่วงอายุ 9-26 ปี เช่นกัน (อ่านรายละเอียดของวัคซีนได้ตามอ้างอิงอีกครั้ง) รวมถึงการป้องกันโดยการมีเพศสัมพันธ์อย่าง
ปลอดภัย
การรักษา ไม่มีการรักษาที่เชื้อไวรัสโดยตรงแต่จะให้การรักษาโรคที่ HPV ทำให้เกิด เช่นการรักษาหูดหนอนไก่และมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก

Ref: http://www.cdc.gov/std/hpv/stdfact-hpv.htm/
http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=119
http://www.phyathai.com/phyathai/new/th/specialcenter/popup_cms_article_detail.php?cid=44&mid=Article&subject=%C1%D0%E0%C3%E7%A7%BB%D2%A1%C1%B4%C5%D9%A1%20(HPV)
www.ccne.or.th/file_attach/11Jun200806-AttachFile1213175226.doc
http://www.asccp.org/practicemanagement/hpv/naturalhistoryofhpv/tabid/5962/default.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น