Comparative effectiveness of rhythm control vs rate control drug treatment effect on mortality in patients with atrial fibrillation
Original investigation
Archives of internal medicine
July 9, 2012
ที่มาของการศึกษา ยังเป็นที่โต้แย้งกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับทางเลือกของกลวิธีในการรักษาโดยการควบคุมจังหวะ (rhythm control) เปรียบเทียบกับการรักษาโดยการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ (rate control) ของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิด atrial fibrillation (AF) การทดลองทางคลินิกล่าสุดพบว่าไม่มีความแตกต่างกันของการเสียชีวิตใน 5 ปีระหว่างทั้ง 2 การรักษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าทั้ง 2 กลวิธีมีประสิทธิภาพที่คล้ายคลึงกันเมื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ซึ่งเป็น atrial fibrillation และการติดตามผู้ป่วยในระยะยาว
วิธีการศึกษา โดยใช้ฐานข้อมูลประชากรจากควิเบก ประเทศแคนาดา ในช่วงปี1999-2007 โดยเลือกผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 66 ปี ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วย AF โดยมิได้รับการสั่งยาในช่วงปีก่อนที่จะเข้าโรงพยาบาล แต่ได้รับยาภายใน 7 วัน ของการอนุญาติให้กลับบ้าน ผู้ป่วยได้รับการติดตามจนกว่าจะเสียชีวิตหรือมีการตัดออก อัตราการเสียชีวิตได้รับการวิเคราะห์โดย multivariable Cox regression
ผลการศึกษา ในผู้ป่วย 26,130 คนที่ติดตามเป็นระยะเวลาเฉลี่ย (SD) 3.1 ปี (2.3 ปี) พบมี 13,237 คนที่เสียชีวิต (49.5%) หลังจากการปรับตัวแปรร่วม พบว่าผลที่เกิดจากการควบคุมจังหวะเทียบกับการควบคุมอัตราการเต้นเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป : หลังจากที่มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการควบคุมจังหวะใน 6 เดือนหลังจากเริ่มการรักษา (hazard ratio [HR], 1.07; 95% CI, 1.01-1.14) อัตราการเสียชีวิตคล้ายกันระหว่าง 2 กลุ่มจนกระทั่ง 4 ปี แต่ลดลงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มควบคุมจังหวะหลังจาก 5 ปี (HR, 0.89, 95% CI, 0.81-0.96 และ HR, 0.77, 95% CI, 0.62-0.95 หลังจาก 5 และ 8 ปีตามลำดับ)
สรุป ในกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นตัวอย่างของป่วย AF เราพบความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของอัตราการเสียชีวิตภายใน 4 ปีของการเริ่มต้นการรักษาระหว่างผู้ป่วยที่รักษาด้วยการการควบคุมจังหวะเทียบกับผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอัตราการเต้นตั้งแต่แรก แต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยการควบคุมจังหวะที่ดูเหมือนจะเหนือกว่าในระยะยาว
อ่านต่อ http://archinte.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1171906
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น