Original article
N Engl J Med July 26, 2012
ยังไม่มีความชัดเจนว่าการประเมินผลการตรวจโดยการใช้ coronary computed tomographic angiography (CCTA) มีประสิทธิภาพดีกว่าการตรวจประเมินตามแบบมาตรฐานเดิมในแผนกฉุกเฉินในผู้ป่วยที่สงสัยกลุ่มอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (acute coronary syndromes)
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาในหลายสถาบัน โดยได้สุ่มผู้ป่วยอายุ 40-74 ปีซึ่งสงสัยกลุ่มอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เป็นลักษณะของหัวใจขาดเลือดหรือการตรวจ troponin ให้ผลบวกในช่วงต้น โดยใช้การตรวจประเมินด้วยการทำ CCTA หรือการตรวจประเมินตามแบบมาตรฐานเดิม ในแผนกฉุกเฉินในวันธรรมดาในช่วงเวลากลางวันระหว่างเดือนเมษายน 2010 ถึงมกราคม 2012
Primary end point หลักคือระยะเวลาที่เข้าพักในโรงพยาบาล secondary end points ได้แก่อัตราการจำหน่ายออกจากแผนกฉุกเฉิน, เหตุการณ์สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่ไม่พึงประสงค์ที่ 28 วันและค่าใช้จ่ายสะสม safety end points คือการตรวจไม่พบโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน
ผลการศึกษา พบว่าอัตราของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันในผู้ป่วยจำนวน 1,000 คน โดยมีค่าเฉลี่ย (± SD) ของอายุ 54 ± 8 ปี (เป็นหญิง 47%) อยู่ที่ 8%, หลังจากทำ CCTA ตั้งแต่ในระยะแรกเทียบกับการตรวจประเมินแบบมาตรฐานเดิม พบว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการเข้าพักในโรงพยาบาลลดลง 7.6 ชั่วโมง (p <0.001) และมีผู้ป่วยจำนวนมากกว่าที่สามารถให้กลับบ้านโดยตรงจากแผนกฉุกเฉิน (47% vs 12%, p <0.001)
โดยไม่พบกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันและไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเหตุการณ์หัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญที่ไม่พึงประสงค์ที่ 28 วัน โดยหลังจากที่มีการใช้ CCTA พบว่ามีการเพิ่มมากขึ้นของการส่งตรวจอื่นๆ ที่ตามมาและการได้รับรังสีที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสะสมของการดูแลคล้ายคลึงกันในกลุ่ม CCTA และกลุ่มที่ให้การประเมินแบบมาตรฐาน (4,289 และ 4,060 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ; P = 0.65)
สรุป ในผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินที่มีอาการซึ่งสงสัยกลุ่มอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน การตรวจด้วย CCTA เป็นกลยุทธ์การคัดกรองซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของการตัดสินใจทางคลินิกดีขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจประเมินแบบมาตรฐานเดิมในแผนกฉุกเฉิน แต่พบว่ามีการเพิ่มมากขึ้นของการส่งตรวจอื่นๆ ที่ตามมาและการได้รับรังสีที่เพิ่มขึ้น โดยมิได้ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลโดยรวม (การศึกษาวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก National Heart, Lung, and Blood Institute; ROMICAT-II)
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMoa1201161
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
1,923 Coronary CT angiography versus standard evaluation in acute chest pain
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Imaging
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น