พบผู้ป่วยหญิงอายุน้อย ซึ่งตรวจร่างกายพบ systolic ejection murmur , CXR มี mild cardiomegaly, EKG มี LVH by voltage, echo มี markedly LVH ที่ยังไม่พบสาเหตุ ซึ่งสงสัยภาวะ hypertrophic cardiomyopathy จึงสืบค้นข้อมูลจาก N Engl J Med โดยเน้นในเรื่องการวินิจฉัยพบข้อมูลดังนี้ครับ
อาจจะสงสัยภาวะนี้จากจากการตรวจร่างกายของระบบหัวใจแล้วพบความผิดปกติหรือจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ลักษณะที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่การมี systolic ejection murmur ซึ่งจะดังขึ้นระหว่าง maneuvers ที่มีการลดลงของ preload (เช่น การเปลี่ยนจากการนั่งยองไปเป็นยืน) และหลักฐานของการมีหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การวินิจฉัยสามารถยืนยันโดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจชนิดสองมิติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมีการหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจชนิด continuous-wave doppler จะใช้ในการวินิจฉัยภาวะอุดกั้นในขณะพัก ร่วมกับหลักฐานการมีความเร็วสูงของการใหลของเลือด (high-velocity), late-peaking jet ที่ข้ามผ่าน left ventricular outflow tract
ในผู้ป่วยที่ไม่มีการอุดตันหรืออุดตันเพียงเล็กน้อย (ความแตกต่างของความดัน ≤ 30 มม.ปรอท), provocative maneuvers (การทำ valsalva maneuver หรือการออกกำลังกาย) ควรจะได้รับการตรวจเพื่อหาว่ามีภาวะอุดกั้นซ่อนเร้นอยู่หรือไม่
เมื่อให้การวินิจฉัย ประวัติครอบครัวของผู้ป่วย (โดยให้ความสำคัญประวัติของการมี cardiomyopathy hypertrophic หรือการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน) ควรจะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ
สมาชิกลำดับแรกในครอบครัวของผู้ป่วยทั้งหมดควรได้รับการตรวจคัดกรองเป็นระยะ ๆ ด้วยคลื่่นเสียงความถี่สูงของหัวใจทุกห้าปีสำหรับ autosomal dominant disorder นี้ เนื่องจากภาวะนี้อาจจะไม่สามารถทราบได้จนถึงอายุ 60-70 ปี
การตรวจคัดกรองประจำปีได้รับคำแนะนำสำหรับวัยรุ่นอายุ 12 -18 ปี ในอนาคตการวินิจฉัยภาวะนี้อาจจะ.ใช้การตรวจเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงการเข้ารหัสของยีนส์โปรตีนซาร์โคเมียร์ แต่เทคนิคนี้ปัจจุบันยังไม่เป็นมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยควรได้รับการประเมินรวมถึงการตรวจด้วย 48-hour Holter monitoring และการทดสอบการออกกำลังกาย ซึ่งให้ข้อมูลการพยากรณ์โรค ผู้ป่วยทุกคนควรได้รับการแนะนำในการป้องกันการอักเสบติดเชื้อเยื่อบุหัวใจ และควรให้คำแนะนำให้หลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำและการออกแรงหนัก (การออกกำลังกายที่รุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการออกแรงอย่างฉับพลัน หรือการออกกำลังกายโดยการเกร็งกล้ามเนื้ออยู่กับที่ซ้ำๆ)
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp030779
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ลูกดิฉันอายุ5 เดือนตรวจพบว่า ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนา ลูก ดิฉันจะเป็นอะไรไหมคะ ช่วย อธิบาย ให้ ฟัง หน่อยได้ ไหมคะ ดิฉันไม่สบายใจ และอยากรู้คำตอบของโรคคะ ช่วยหน่อยได้ไหมคะ ถือว่าทำบุญให้แม่ของลูกคนหนึ่งนะคะ ขอบคุณคะ
ตอบลบปกติแล้ว แพทย์ที่ให้การตรวจวินิจฉัยน่าจะให้ข้อมูลและวางแผนการดูแลรักษาอยู่แล้วนะครับ ที่ถามมาจึงไม่แน่ใจว่าต้องการในรายละเอียดของโรคเพิ่มหรือเปล่าครับ?
ตอบลบซึ่งการที่ผนังหัวใจหนาก็จะหมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจหนา โดยอาจจะมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหัวใจเอง หรือสาเหตุอื่นเหนี่ยวนำให้เกิดการหนาตัว การปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีอาจเกิดผลต่อหัวใจในระยะยาว เช่นมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความยืดหยุ่นน้อยลง หัวใจบีบตัวได้น้อย และมีช่องว่างสำหรับการไหลเวียนเลือดในหัวใจได้น้อย อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้
ผมเองก็ไม่ชำนาญเรื่องหัวใจโดยเฉพาะในเด็ก แนะนำว่าน่าจะพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจโดยตรง เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาครับ
มีลิ้งค์ภาษาไทยเรื่องนี้ลองอ่านเพิ่มนะครับ
http://www.phyathai-sriracha.com/pyt_th/department/cardio/knowledge/knowledge.php?kid=8