Am Fam Physician. 2006 Nov 1;74(9):1510-1516
โรคหูชั้นนอกอักเสบ (otitis externa) สามารถเกิดได้ทั้งชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ชนิดเฉียบพลันเกิดขึ้น 4/1,000 คนต่อปี และชนิดเรื้อรังเกิดขึ้น 3 -5 เปอร์เซ็นต์ของประชากร แบบเฉียบพลันมักเกิดจากแบคทีเรีย (90 เปอร์เซ็นต์) หรือเชื้อรา (10 เปอร์เซ็นต์) การเจริญของเชื้อในช่องหูอาจจะเนื่องจากมีความชื้นมากหรือมีการบาดเจ็บเฉพาะที่ชนิดเรื้อรังมักจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาผิวหนังทั่วๆ ไปหรืออาการแพ้ อาการของโรคในช่วงต้นจะมีลักษณะเฉียบพลันและส่วนใหญ่จะเป็นเรื้อรัง โดยมีอาการคันและความรู้สึกไม่สบายที่หู หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะเฉียบพลันสามารถก่อให้เกิดอาการบวมของรูหู มีสิ่งคัดหลั่ง ปวด และในที่สุดจะเกิดลักษณะของความผิดปกติที่นอกรูหู
ยาเฉพาะซึ่งมีสารที่ช่วยเพิ่มความเป็นกรดมักจะเพียงพอในการรักษาโรคในระยะเริ่มต้น ยาใช้เฉพาะที่ซึ่งมีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาที่น่าพอใจในระยะหลังของชนิดเฉียบพลัน ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานจะถูกสงวนไว้สำหรับโรคที่เป็นรุนแรงหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
มาตรการในการป้องกันช่วยลดการเกิดซ้ำโดยการลดความชื้นในช่องหูให้น้อยลง ป้องกันการบาดเจ็บหรือการสัมผัสกับสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองเฉพาะที่หรือโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส
Ref: http://www.aafp.org/afp/2006/1101/p1510.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น