หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,894 Update on acute ankle sprains

American Family Physician
June 15 2012 Vol. 85 No. 12

ข้อเท้าแพลงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยของแพทย์เวชปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว ส่วนใหญ่ข้อเท้าแพลงจะเกิดกับเอ็นข้อเท้าด้านข้าง (lateral ankle ligaments) แม้ว่า high sprains ซึ่งแสดงถึงความเสียหายต่อ syndesmosis tibiofibular จะเป็นที่รับรู้มากขึ้น 
แพทย์ควรจะประยุกต์ใช้ Ottawa ankle rules เพื่อตรวจสอบว่ามีความจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีหรือไม่ 
ซึ่งตามเกณฑ์ของออตตาวา (Ottawa criteria) การถ่ายภาพรังสีมีข้อบ่งชี้ถ้ามีอาการปวดที่ malleolar หรือโซนกลางของเท้า (midfoot zone)และการกดเจ็บของกระดูกทั้งตำแหน่งที่อาจจะมีการแตกหักเกิดขึ้น (เช่น lateral malleolus, medial malleolus ฐานของ metatarsal ที่ห้า หรือกระดูก navicular) หรือการที่ไม่สามารถจะลงน้ำหนักสี่ขั้นตอนได้ทันทีหลังการได้รับบาดเจ็บและในแผนกฉุกเฉินหรือคลินิกแพทย์
ผู้ป่วยที่มีข้อเท้าแพลงควรใช้การประคบเย็นในช่วง 3-7 วันแรกเพื่อลดอาการปวดและช่วยให้หายเร็วขึ้น ผู้ป่วยควรสวม lace-up ankle หรือ air stirrup brace ร่วมกับผ้าหรือยางยืดเพื่อลดอาการบวม-ปวด, ช่วยให้หายเร็วขึ้นและปกป้องการรับบาดเจ็บเส้นเอ็นที่จะเคลื่อนไหวมากขึ้น
การเริ่มเคลื่อนไหวโดยเร็วช่วยให้หายเร็วและลดอาการปวดมากการหยุดพักเป็นเวลานาน ตัวเลือกสำหรับการควบคุมความปวดในผู้ป่วยที่มีข้อเท้าแพลงรวมถึงยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ยาพาราเซตามอล และโอปิออยด์แบบอ่อน เนื่องจากการที่เคยมีข้อเท้าแพลงมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับการเกิดข้อเท้าแพลงเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้วควรให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกลวิธีในการป้องกัน  อุปกรณ์พยุงข้อเท้า การพันข้อเท้า (ankle taping) โปรแกรมการฝึกที่มุ่งเน้นระบบของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ และการวอร์มเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก่อนการเล่นกีฬาสามารถป้องกันการบาดเจ็บที่ข้อเท้าและควรจะพิจารณาสำหรับผู้ป่วยที่จะกลับไปเล่นกีฬาหรือกิจกรรมมีความเสี่ยงสูงอื่น ๆ

Ref: http://www.aafp.org/afp/2012/0615/

เพิ่มเติม: High ankle sprain หมายถึงการบาดเจ็บของเส้นเอ็นขนาดใหญ่ที่อยู่เหนือข้อเท้า ซึ่งเป็นตำแหน่งของข้อที่กระดูกขาสองชิ้นมาอยู่ติดกัน กระดูกดังกล่าวได้แก่ กระดูกหน้าแข็ง (tibia) และกระดูก fibula โดยข้อนี้มีเส้นเอ็นที่เป็นตัวเชื่อมที่เรียกว่า syndesmosis หรือ sydesmotic ligament
(Ref: http://orthopedics.about.com/od/sprainsstrains/a/syndesmosis.htm)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น