BMJ 2012; 345 doi: 10.1136/bmj.e4276 (Published 5 July 2012)
เพื่อประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของกลยุทธ์การคัดกรองที่แตกต่างกันสำหรับการมีหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้องในผู้ชายจากสถาบันบริการสุขภาพแห่งชาติ ( national health service) โดยมีหน่วยสำหรับการคัดกรองที่โรงพยาบาลในภูมิภาค โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรทั่วไปชายอายุ 65 ปี
ค่าใช้จ่าย (มีหน่วยเป็นปอนด์ในปี 2010) และผลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (quality adjusted life years (QALYs)) การคัดกรองดูเหมือนว่าน่าจะมีต้นทุน-ประสิทธิผลที่ดีเมื่อเทียบกับไม่ได้คัดกรอง ประมาณการว่ามีความน่าจะเป็น 92% ว่าบางรูปแบบของการคัดกรองจะมีต้นทุน-ประสิทธิผลอยู่ที่เกณฑ์ของค่าใช้จ่าย 20,000 ปอนด์ (24,790 ปอนด์; 31,460 เหรียญสหรัฐ)
ถ้าผู้ชายที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดง 25-29 มม. ณ.ช่วงที่เริ่มต้นตรวจคัดกรองจะถูกตรวจซ้ำครั้งหลังจากนั้นห้าปี พบว่ามี 452 คนต่อ100,000 คนที่คัดกรองในขั้นต้นจะได้รับประโยชน์จากการตรวจพบที่รวดเร็ว ขณะที่ตลอดชั่วชีวิตที่มีการตรวจคัดกรองซ้ำทุกห้าปีจะพบ 794 คนต่อ 100,000 คน
โดยได้ประเมินความสัมพันธ์ของอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นสำหรับการตรวจคัดกรองซ้ำครั้งเดียวและการตรวจคัดกรองซ้ำตลอดชีวิต พบว่าอยู่ที่ 10,013 ปอนด์และ 29,680 ปอนด์ต่อ QALY ตามลำดับ ความน่าจะเป็นของแต่ละกลยุทธ์ในการที่จะมีต้นทุน-ประสิทธิผลที่คุ้มค่าสูงสุดพบว่าในการตรวจคัดกรองซ้ำแต่ละครั้งมีสูงมากกว่ากว่ากลยุทธ์ที่คัดกรองในครั้งเดียว (ในมุมของเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่ 20,000 ปอนด์)
สรุป: การศึกษานี้ยืนยันการมีความคุ้มค่าของต้นทุน-ประสิทธิผลในการตรวจคัดกรองเมื่อเทียบกับการไม่ได้ตรวจคัดกรอง และการสนับสนุนเพื่อการพิจารณาการตรวจคัดกรองซ้ำของผู้ชายอย่างน้อยหนึ่งครั้งสำหรับหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง
Ref: http://www.bmj.com/content/345/bmj.e4276
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น