หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,885 Global mortality from 2009 H1N1 influenza

Journal watch
อัตราการเสียชีวิตโดยทั่วโลกจากการะบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1
ทั่วโลกมีผู้ที่เสียชีวิต 18,500 คนจากไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่งได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการ โดยมีการรายงานข้อมูลในช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2009 - สิงหาคม 2010 เชื่อว่าตัวเลขนี้ยังต่ำเกินไป นักวิจัยใช้
วิธีการใหม่ในการประมาณการจำนวนผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดใหญ่ H1N1 ทั่วโลกในช่วง 12 เดือนแรกของการแพร่กระจายของไวรัสในแต่ละประเทศ โดยใช้ข้อมูลที่แบ่งตามรายได้ จากประเทศที่มีรายได้สูง, รายได้กลาง และรายได้ต่ำ โดยได้ประมาณการ 12 เดือน ของอัตราการมีอาการสะสม แล้วคูณด้วยอัตราส่วนประมาณการผู้ที่มีอาการซึ่งเสียชีวิตจากประเทศที่มีรายได้สูงซึ่งได้เลือกไว้
โดยแบ่งชั้นของการประมาณการตามอายุ (0–17 ปี, 18–64 ปี, และมากกว่า 64 ปี) ใช้การประมาณอัตราการของการเสียชีวิตของการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจาก WHO แล้วคำนวนกลุ่มเสี่ยงที่เสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะเป็นตัวคูณ ปรับฐานประมาณการของการเสียชีวิตในแต่ละกลุ่มเสี่ยงและยังได้ทำการคำนวนจำนวนของผู้ป่วยไข้หวัด H1N1ที่เสียชีวิตโดยมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้การประมาณการของการเสียชีวิตส่วนเกินที่มีข้อมูลจาก 5 ประเทศที่มีรายได้สูงและปานกลาง
ผลรวมมัธยฐานของค่าประมาณการของการเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจคือ 201,200 คน โดย 65% ของการเสียชีวิตนี้ที่เกิดขึ้นในบุคคลที่มีอายุ 18-64 ปี และ 13% ในกลุ่มคนที่อายุมากกว่า 64 ปี (สำหรับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีข้อมูลซึ่งแบ่งตามชั้นอายุ โดย 80% - 90% ของการเสียชีวิตอยู่ในผู้ที่อายุ 65 ปี) 29% ของการเสียชีวิตจากทางเดินหายใจเกิดขึ้นในแอฟริกา ที่ซึ่งมีประมาณการของอัตราการเสียชีวิต 2-4 เท่าของภูมิภาคอื่น ๆ
นอกจากนั้น 83,300 คน ในผู้ที่อายุมากกว่า 17 ปี ซึ่งได้รับการประมาณการว่าเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจที่สัมพันธ์กับไข้หวัดใหญ่ H1N1, ประมาณการทั้งหมดของจำนวนปีที่สูญเสียไปในช่วงชีวิตสูงกว่า 3.4 เท่าของอายุที่คาดหวังในช่วงการกระจายของอายุซึ่งคล้ายกับการระบาดตามฤดูกาล
การวิเคราะห์นี้แสดงให้เห็นว่าการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 อาจจะมีมากกว่าอัตราการเสียชีวิตที่รายงานเป็นอย่างมาก
ในหัวข้อความคิดเห็นได้กล่าวไว้ว่า อัตราาการเสียชีวิตดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างประเทศ และบางพื้นที่มีความไม่ได้สัดส่วนของการประเมินอัตราดังกล่าว ผู้เขียนและบรรณาธิการเน้นข้อจำกัดของการศึกษา และมีความจำเป็นในการรวบรวมข้อมูลจากหลายสถานที่ซึ่งยังมีการศึกษาเก็บข้อมูลไม่เต็มที่

Ref: http://infectious-diseases.jwatch.org/cgi/content/full/2012/703/4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น