หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1,884 ข้อควรทราบเรื่องการดูแลภาวะไขมันในเลือดสูง

ช่วงนี้เป็นช่วงตรวจสุขภาพของเจ้าหน้าที่ใน รพ. ซึ่งมักจะมีคำถามว่าระดับไขมันควรจะอยู่ที่เท่าไร? และจะต้องให้การปฏิบัติตัวดูแลรักษาอย่างไร?
จากการสืบค้นใน ESC/EAS Guidelines for the management of dyslipidaemias 2011 และนำมาใช้
โดยเริ่มจากการคำนวน Framingham risk scoring ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงของการเกิด coronary heart disease (myocardial infarction and coronary death) ในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่เกี่ยวกับไขมันและ cardiovascular disease (CVD) ก็มักจะอ้างอิงหรือใช้ข้อมูลของ Framingham heart study อยู่แล้ว 

โดย Framingham risk scoring จะใช้ข้อมูลจาก อายุ, เพศ, ระดับ total cholesterol, ระดับ HLD, การสูบบุหรี่, ความดันโลหิตตัวบน (systolic blood pressure) และการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง มาใช้ในการคำนวน ซึ่งเราสามารถทำการคำนวนได้ง่ายๆ โดยการคำนวนแบบออนไลน์ตามลิ้งค์นี้ Click โดยจากข้อมูลของผู้ป่วยและการคำนวนสามารถแบ่งความเสี่ยงของผู้ป่วยได้ 4 กลุ่มดังนี้
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมาก ได้แก่มี CVD อยู่แล้วมีหลักฐานของ CVD, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2,
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มี target organ damage, ผู้ป่วย CKD ที่มี GFR น้อยกว่า 60 mL/min/1.73 m2, คำนวน risk scoreได้ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ผู้ที่มี familial dyslipidaemias และความดันโลหิตสูงรุนแรง,  risk score ตั้งแต่ 5% จนถึงน้อยกว่า 10%
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลาง คือมี risk score ตั้งแต่1% จนถึงน้อยกว่า 5% ผู้ใหญ่วัยกลางคนมักจะคำนวนได้อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งความเสี่ยงนี้ถูกควบคุมโดยประวัติครอบครัวของการเกิดโรคของ coronary artery disease ที่อายุไม่มาก, อ้วนลงพุง, การดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิด CVD, HDL-C, TG, hs-CRP, Lp(a), fibrinogen, homocysteine, apo B, และรวมถึงชั้นสถานะทางสังคม
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ risk score น้อยกว่า 1%.
เมื่อได้แล้วนำมาเปรียบเทียบกับในตารางด้านล่างเพื่อให้การดูแลรักษา
กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น