ขอเพิ่มรูปภาพอีกสักรูปนะครับ (ใช้กล้องจุลทรรศน์คนละตัวสีจึงไม่เท่ากัน)
ขอขอบคุณทุกๆ ความเห็นครับ ในผู้ป่วยไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีปัญหาถ่ายเหลวและการตรวจ modify AFB ให้ผลบวก ทำให้ต้องคิดถึงสาเหตุได้แก่ cyclospora, cryptosporidium และ isospora belli
และจากการสืบค้นจากใน medscape พบการเปรียบเทียบดังนี้ครับ

ในภาพด้านซ้ายเป็น oocysts ของ cyclospora cayetanensis ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7.7 to 10.0 µm การติดสีมีตั้งแต่ไม่ติดสีดังภาพ (ลูกศร) จนถึงสีชมพูสด ภาพกลาง เป็น oocysts ของ cryptosporidium parvum จะติดสีจางๆ จนถึงสีชมพูเข้ม เมื่อเปรียบเทียบกัน C parvum oocysts จะมีขนาดเล็กกว่า cyclospora oocysts โดย cryptosporidium parvum oocysts มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 to 6 µm โดยจะมีรูปร่างกลมจนถึงรูปร่างไม่ราบเรียบ ภาพขวาเป็นรูปของ isospora belli ซึ่งมีขาดใหญ่ เป็น oocyst ผนังหนาที่ยังไม่เจริญเต็มที่โดยมี sporoblast ติดสีอยู่ภายในซึ่ง บาง sporoblast อาจไม่ติดสีดังสองภาพด้านบน โดย oocyst มีขนาด 20 - 33 x 10 -19 µm
เบื้องต้นขอลงข้อมูลเท่านี้ก่อนพรุ่งนี้จะไปถามผู้ที่ชำนาญด้านนี้มาเพิ่มให้ครับ
ได้ถามผู้ที่ดูกล้องจุลทรรศน์ประจำ บอกว่าขนาดดูเล็กกว่าเม็ดเลือดแดง ดังนั้นจึงทำให้คิดถึง cryptosporidium parvum มากกว่า cyclospora cayetanensis
ส่วนการรักษาคือการรักษาตามอาการ ได้แก่การแก้ไขภาวะการสูญเสียน้ำ แก้ไขภาวะความผิดปกติของเกลือแร่ ถ้ารับประทานได้น้อยมีความจำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ยาต้านการถ่ายเหลว (anti-diarrheal) อาจจะช่วยลดอาการถ่ายเหลว ส่วนยาปฎิชีวนะที่ FDA approved คือ nitazoxanide ร่วมกับการรักษาให้ภูมิคุ้มกันกับมาดีขึ้นโดยการให้ยาต้านไวรัส ส่วนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันดี อาการมักจะดีขึ้นได้เอง
ภาพและข้อมูลจาก
Penicillium marneffei infection ?
ตอบลบCryptosporidium Parvum
ตอบลบ