Stevens-Johnson syndrome (SJS) และ toxic epidermal necrolysis (TEN) จะมีรอยโรคคล้ายกัน
การแยกระหว่างทั้งสองใช้ความกว้างของผิวหนังที่เกิดการลอกตัวเป็นเกณฑ์
-Stevens-Johnson syndrome เป็นรูปแบบที่รุนแรงน้อยกว่า toxic epidermal necrolysis (TEN) ซึ่งมีการลอกของผิวหนังน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ผิวร่างกาย
-Overlapping Stevens-Johnson syndrome/toxic epidermal necrolysis (SJS/TEN) จะมีการลอกของผิวหนัง10-30% ของพื้นที่ผิวร่างกาย
-Toxic epidermal necrolysis มีการลอกของผิวหนังน้อยกว่า 30% BSA
ผู้ป่วยมักมีอาการนำคล้ายไข้หวัด มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ คลื่นไส้
อาเจียน ท้องเสีย ตาแดง อาจมีอาการได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงภายหลังได้รับยาจนอาจนานหลายวัน
ลักษณะผื่น ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อน เจ็บปวดบริเวณผิวหนัง ผื่นมักเริ่มบริเวณลำตัวแล้วกระจายอย่างรวดเร็วเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันไปสู่ใบหน้าและแขนขา การกระจายของรอยโรคมักสูงสุดประมาณ 4 วัน โดยรอยโรคได้แก่ผื่นราบหรือผื่นนูนแดงกระจาย อาจมีผื่นเป็นลักษณะคล้ายรูปเป้า (targets lesion) เป็นถึงน้ำที่มักจะไม่ตึง ถุงน้ำอาจจะรวมกันเกิดการหลุดลอกของผิวหนังเป็นบริเวณกว้าง มีน้ำเหลืองใหลออกมา Nikolsky sign ให้ผลบวกในบริเวณที่ผิวหนังเป็นสีแดง ฝ่ามือฝ่าเท้าจะบวมแดงจะเจ็บ และอาจมีตุ่มน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากหนังบริเวณนี้ค่อนข้างหนากว่าที่อื่นๆจึงไม่ค่อยแตก เล็บมือเล็บเท้าอาจหลุดออกหรือเกิดร่องตามขวาง เยื่อบุต่างๆมักถูกทำลายด้วย เช่น ช่องปากเยื่อบุตา อวัยวะเพศ รูก้น ผู้ป่วยจะมีอาการแทรกซ้อนจากบริเวณเหล่านี้ได้มากและนานกว่าผิวหนังส่วนอื่นๆ อาจเกิดการติดเชื้อหรือมีเนื้อเน่าตายได้
เพิ่มเติม
-EM minor หรือ EM มีผื่นตามผิวหนังร่วมกับผื่นตามเยื่อบุ เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุช่องปากจมูก ทวาร
อวัยวะเพศ อีก 1 แห่ง
-EM major หรือที่เรียกว่า Steven Johnson syndrome จะมีผื่นตามเยื่อบุมากกว่า 1 แห่ง จะมีอาการ
ค่อนข้างรุนแรงกว่า
-จะสังเกตว่าเป็นการดูเปอร์เซนต์ความกว้างของผิวหนังที่เกิดจากการลอก ไม่ใช่รอยโรคโดยรวมทั้งหมด
Ref:
http://haamor.com สะตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome)
http://www.errama.comภาวะผื่นแพ้ยาในผู้ป่วย Systemic Lupus Erythematosus
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น