วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1,872 Peptic ulcer bleeding in patients with or without cirrhosis: different diseases but the same prognosis?

Aliment Pharmacol Ther. 
2012 Jul;36(2):166-72

พยาธิสรีระวิทยาและการพยากรณ์ของการมีเลือดออกจากแผลเปื่อยเปบติค (peptic ulcer bleeding, PUB) ยังไม่เคยมีการกล่าวถึง
วัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงและผลลัพท์ของการมีเลือดออกจากแผลเปื่อยเปบติคในสองกลุ่มได้แก่ผู้ป่วยที่เป็นและไม่เป็นโรคตับแข็ง
วิธีการศึกษาเป็นแบบไปข้างหน้า โดยเป็นผู้ป่วยทั้งหมดที่มีเลือดออกจากแผลเปื่อยเปบติคที่เข้ารับการรักษาห้องไอซียูของหน่วยโรคตับและระบบทางเดินอาหารระหว่างเดือนมกราคม 2008 ถึงเดือนมีนาคม 2011 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาตามคำแนะนำระดับประเทศ
การวินิจฉัยโรคตับแข็งอยู่บนพื้นฐานทางคลินิก สอบตรวจสอบทางชีวภาพและลักษณะทางสัณฐานวิทยา, สาเหตุ ลักษณะและผลลัพธ์ของการมีเลือดออกจากแผลเปื่อยเปบติคจะถูกนำมาเทียบกับในผู้ป่วยโรคตับแข็งกับผู้ที่ไม่มีโรคตับแข็ง
ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยรวม 203 คนที่มีการมีเลือดออกจากแผลเปื่อยเปบติค โดยผู้ป่วย 29 คนมีโรคตับแข็ง (กลุ่ม Cirr +) และ 174 คนไม่ได้เป็นโรคตับแข็ง (กลุ่ม Cirr-) ข้อมูลประชากรมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสองกลุ่มยกเว้นอายุและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสาเหตุของโรคตับแข็งคือเกิดจากแอลกอฮอล์ 97%
ลักษณะของการมีเลือดออกจากแผลเปื่อยเปบติคไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม, 93% ของผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็งมีภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับจากการส่องกล้องทางเดินอาหาร (endoscopic portal hypertension)
สาเหตุของการมีเลือดออกจากแผล เปื่อยเปบติคแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม Cirr + และ Cirr- (เชื้อ Helicobacter pylori = 10.3% เทียบกับ 48.8%, p <0.0001; NSAID = 17.2% เทียบกับ 54.0%, p <0.0001; PUB idiopathic = 79.3% เทียบกับ 23.8%, P <0.0001) ผลลัพท์ได้รับการเปรียบเทียบกับการมีเลือดออกซ้ำ (7.0% เทียบกับ 6.9%, P = 0.31), มีความจำเป็นต้องทำการฉีดสารเพื่ออุดหลอดเลือดแดง (embolisation) (10.3 เทียบกับ 8.6%, P = 0.76), ต้องทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไข (0 เทียบกับ 1.7%, P = 0.31 ) และอัตราการเสียชีวิต (3.0% เทียบกับ 1.1%, P = 0.87)
สรุปได้ว่า พยาธิสรีระวิทยาของการมีเลือดออกจากแผลเทียบกับเปบติค ดูเหมือนว่าจะแตกต่างกันในผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็ง โดยในผู้ป่วยโรคตับแข็งเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นจากสุรา ในการศึกษานี้ พบว่ามีการพยากรณ์โรคคล้ายคลึงกับประชากรทั่วไป ซึ่งการมีเลือดออกจากแผลเทียบกับเปบติคในโรคตับแข็งอาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับและ / หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น