หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1,870 Symptom onset–to-balloon is more important than door-to-balloon time

Journal watch
แนวทางปัจจุบันของรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน (percutaneous coronary intervention, PCI)) แนะนำว่าควรจะดำเนินการภายใน 90 นาทีแรกของการมาพบแพทย์ (เรียกว่า "door-to-balloon time") ในผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST-segment ยกสูงขึ้น (STEMIs) ขณะนี้จากการศึกษาเชิงสังเกตขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นได้ศึกษาเพื่อดูผลของ symptom onset–to-balloon time แทน
ในการศึกษาผู้ป่วย STEMI 3391 คน โดยสิ่งที่ต้องการศึกษาคืออุบัติการณ์ของการเสียชีวิตร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งพบว่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญใน symptom-to-balloon time ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับ symptom-to-balloon time ที่มากกว่า 3 ชั่วโมง (13.5% vs 19.2%)
ความสัมพันธ์นี้ยังคงอยู่หลังจากการปรับตัวแปร ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างน้อยมากและมีนัยสำคัญแบบไม่ยาวนานของ door-to-balloon timesที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 90 นาทีและที่มากกว่า 90 นาที (16.7% และ 18.4%; hazard ratio, 0.98) แต่อย่างไรก็ตาม door-to-balloon time ที่สั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำต่อการเสียชีวิตหรือหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยที่มาเร็ว (2 ชั่วโมง; HR 0.58) แต่ไม่พบในผู้ที่มาช้ากว่า (มากกว่า 2 ชั่วโมง; HR 1.57)  door-to-balloon time และระยะเวลาที่มาถึง (time to presentation) พบว่ามีปฎิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
ในหัวข้อความคิกเห็นได้กล่าวไว้ว่า การศึกษาเชิงสังเกตขนาดใหญ่นี้แสดงให้เห็นว่าเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการแสดงจนถึงได้รับการเปิดหลอดเลือดที่อุดตันโดย PCI เหนือกว่า door-to-balloon time ในการทำนายผลอันได้แก่ การเสียชีวิตหรือภาวะหัวใจล้มเหลว ประโยชน์ส่วนใหญ่ของ door-to-balloon time ที่สั้นได้เน้นในผู้ที่มาเร็ว ในขณะที่การเปิดหลอดเลือดที่อุดตันอย่างรวดเร็วไม่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่มาช้า ซึ่งข้อมูลที่มีก่อนหน้านี้ได้รับการผสมกับประเด็นนี้,
และจากผลที่ได้ ผู้เขียนแนะนำว่าควรให้ความสนใจมากขึ้นและการใช้ทรัพยากรเพื่อที่จะทำให้ลดความล่าช้าของการมาถึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น