Journal watch
การตัดสินใจที่จะรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure, HF) เข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือให้กลับบ้าน มักจะเป็นเรื่องยาก เพื่อพัฒนารูปแบบการพยากรณ์ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่เหมาะสำหรับใช้ในแผนกฉุกเฉิน, นักวิจัยในรัฐออนแทรีโอของแคนาดา, ได้ศึกษาข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันจำนวน 12,591 คน ซึ่งได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล 86 คน ในช่วงปี คศ. 2004-2007
สองในสามของผู้ป่วยได้รับการรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ส่วนที่เหลือให้กลับจากแผนกฉุกเฉิน, 60% ของผู้ป่วยใช้การศึกษาแบบ derivation cohort (อายุเฉลี่ย 75.4 ปี; ผู้ชาย 51.5%) และ 40% ใช้การศึกษาแบบ validation cohort (อายุเฉลี่ย 75.7 ปี; ผู้ชาย 51.6%)
การเสียชีวิตในช่วง 7 วันโดยรวมอยู่ที่ 2% ลักษณะพื้นฐานมีความคล้ายคลึงกันในทั้งสอง cohorts แม้จะมีระดับ creatinine และ troponin และอัตราการใช้ยาขับปัสสาวะที่สูงเล็กน้อยขึ้นใน validation cohort
ผู้ศึกษาได้พัฒนา emergency HF mortality risk grade (EHMRG) scale โดยขึ้นอยู่กับปัจจัย 10 ปัจจัยที่เป็นอิสระเพื่อพยากรณ์การเสียชีวิตใน 7 วัน ในการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร link ซึ่งตัวแปรบางอย่างเป็นการคูณและบางอย่างเป็นการบวกเพิ่ม EHMRG score สามารถคำนวณแบบออนไลน์ สำหรับแต่ละ 20 จุดที่เพิ่มขึ้นใน EHMRG score (คำนวนแบบออนไลน์ตามลิ้งค์ link ) ความเสี่ยงการเสียชีวิตใน 7 วันจะเพิ่มขึ้น 41% ในหมู่ derivation cohort และ 39% ในหมู่ validation cohort
ในหัวข้อความคิดเห็นได้กล่าวว่า แบบจำลองความเสี่ยงหลายตัวแปรนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ได้เป็นประจำในการเข้ารักษาในแผนกฉุกเฉินหรือโรงพยาบาล หากประโยชน์ที่มีต่อของผลลัพธ์ทางคลินิกได้รับการยืนยันในการศึกษาแบบไปข้างหน้า เครื่องมือนี้อาจช่วยให้แพทย์ระบุผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเสียชีวิตที่อาจจะสามารถให้กลับบ้านได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่น่ายินดีสำหรับการดูแลผู้ป่วย
Ref: http://cardiology.jwatch.org/cgi/content/full/2012/613/1
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น