มีคำถามจากทีมที่ดูแลเรื่องวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่กำลังจะให้ในเร็วๆ นี้ โดยถามถึงกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยากันเลือดแข็งตัวโดยการรับประทาน จะมีแนวทางอย่างไร จึงสืบค้นพบการศึกษาวิจัยนี้ครับ
Research article
BMC Blood Disorders 2008, 8:1
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้รับคำแนะให้ทางเข้ากล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามแพทย์จำนวนมากให้ยาทางใต้ผิวหนังสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากันเลือดแข็งตัวโดยการรับประทานเนื่องจากทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการมีเลือดออกน้อย จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการประเมินความปลอดภัยของการให้ยาทางกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่ได้รับยากันเลือดแข็งตัว
การศึกษาเป็นแบบ randomised, controlled, single blinded, multi-centre clinical trial โดยมีหน่วยงานระดับปฐมภูมิ 4 แห่งในบาร์เซโลนาประเทศสเปน มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 229 คนที่รับการรักษาด้วยยากันเลือดแข็งตัวโดยการรับประทาน ซึ่งได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูกาล 2003-2004 โดยมีกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการให้ยาทางกล้ามเนื้อ (129 คน) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการให้ยาทางใต้ผิวหนัง (100 คน)
ผลลัพธ์หลักของการศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงในเส้นรอบวงของแขนที่ตำแหน่งการฉีดยาที่เวลา 24 ชั่วโมง ผลลัพธ์รองคือลักษณะของปฏิกิริยา ณ. ตำแหน่งนั้นและอาการปวดที่ 24 ชั่วโมงและที่ 10 วัน ดูการเปลี่ยนแปลงของ INR (International Normalized Ratio) ที่ 24 ชั่วโมงและ 10 วัน วิเคราะห์โดย intention to treat ใช้ช่วงความเชื่อมั่น 95% ของสัดส่วนหรือค่าความแตกต่างเฉลี่ย
ตัวแปรพื้นฐานในทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน ไม่มีรายงานถึงผลข้างเคียงที่สำคัญหรือภาวะเลือดออกที่สำคัญในช่วงระยะเวลาติดตาม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผลลัพท์หลักระหว่างทั้งสองกลุ่ม ลักษณะของอาการไม่พึงประสงค์ ณ. ตำแหน่งที่ฉีดพบบ่อยมากกว่าในการให้ยาใต้ผิวหนัง (37.4% เมื่อเทียบกับ 17.4%, ช่วงความเชื่อมั่น 95% ของความแตกต่าง 8.2% ถึง 31.8%)
สรุปได้ว่าการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ยาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทางกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากันเลือดแข็งตัวชนิดรับประทานไม่ได้มีผลข้างเคียงมากกว่าการให้ยาทางใต้ผิวหนัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น