พบว่าแต่ร้อยละ 32-67 ของผู้ป่วยยังไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและบุคคลากรทางการแพทย์ส่วนมากยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้และไม่สามารถแยกความแตกต่างกับอาการของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม สาเหตุที่ทําให้การวินิจฉัยผิดพลาดโดยมากเกิดจากมักไม่สามารถวินิจฉัยอาการซึมสับสนเฉียบพลันชนิด hypoactive และผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นสลับเลวลงเป็นช่วงๆ (fluctuation) จึงทําให้การประเมินผู้ป่วยแค่ช่วงใดช่วงหนึ่งเพียงครั้งเดียวและใช้เวลาไม่นาน อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้
โดยทั่วไปถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ปัจจัยกระตุ้นที่ไม่มากนักก็อาจทําให้เกิดอาการซึม สับสน
เฉียบพลันได้ แต่ถ้าผู้ป่วยแทบไม่มีปัจจัยเสี่ยงเลย มักต้องมีปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีการตรวจประเมินอย่างครบถ้วนยังพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 15-25 ไม่พบสาเหตุที่ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดอาการซึม สับสนเฉียบพลันและผู้ป่วยที่พบสาเหตุประมาณครึ่งหนึ่งมีมากกว่า 1 สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ขึ้น
การวินิจฉัยอาการซึม สับสนเฉียบพลันต้องอาศัยประวัติที่เชื่อถือได้จากบุคคลใกล้ชิดผู้ป่วย เช่น ญาติหรือผู้ดูแลและอาศัยการประเมินผู้ป่วย เกณฑ์การวินิจฉัยอาการนี้โดย Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders IV (DSM-IV) อย่างไรก็ตามการใช้เกณฑ์การประเมินของ Inouye มักเป็นที่นิยมมากกว่าเนื่องจากง่ายกว่า และมีความไวและความจําเพาะสูง
เกณฑ์การวินิจฉัยอาการซึม สับสนเฉียบพลันของ DSM-IV
1. Disturbance of consciousness (เช่น ความตื่นตัวต่อสิ่งแวดล้อมลดลง) มีความผิดปกติของ attention
2. มีการเปลี่ยนแปลงของ cognition (เช่น ความจําบกพร่อง หลงวันเวลา สถานที่ มีปัญหาด้านการใช้ภาษา) หรือ มีความผิดปกติของการรับรู้ที่ไม่ได้เกิดจากภาวะสมองเสื่อมที่ทีอยู่เดิม
3. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเกิดในระยะเวลาอันสั้น (มักเป็นชั่วโมงหรือวัน) และมักมีอาการสลับกันระหว่างอาการดีขึ้นและเลวลง
4. มีหลักฐานจากประวัติ การตรวจร่างกายหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่าอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดปกติของโรคทางกาย
Inouye SK และคณะ ได้คิดเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการซึม สับสนเฉียบพลัน ซึ่งมีความไวในการวินิจฉัยร้อยละ 94-100 และความจําเพาะร้อยละ 90-95 อย่างไรก็ตามการใ้ช้เกณฑ์นี้ควรใช้เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น และควรตรวจยืนยันด้วยวิธีอื่นต่อไป
เกณฑ์การวินิจฉัยอาการซึม สับสนเฉียบพลันของ Inouye (Confusion Assessment Method)
1. Acute onset และ fluctuating course
2. Inattention
3. Disorganized thinking
4. Altered level of consciousness
การวินิจฉัยต้องประกอบด้วยข้อ 1 และ 2 ร่วมกับข้อ 3 หรือ 4
Ref: http://203.157.184.5/researchcenter/download/06012010/15.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น