หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1,841 Balancing positive and negative effects of antidepressants during pregnancy

Journal watch
มารดาซึ่งใช้ยาต้านซึมเศร้า (antidepressant, AD) มีไม่น้อยกว่า 8% ของหญิงตั้งครรภ์ในสหรัฐอเมริกาและมีความสัมพันธ์กับกับพยาธิวิทยาของจิตใจของลูกหลาน (เช่น autism; JW Psychiatry Aug 29 2011)) ในการศึกษานี้ผู้วิจัยประเมินผลกระทบของความวิตกกังวลของมารดาและการใช้ยาต้านซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ต่อประสาทการได้ยินที่เปลี่ยนแปลงของทารก โดยการวัดความจดจ่อ การตอบสนองต่อการจับคู่ที่เป็นลำดับโดยการใช้ electroencephalographic และบันทึกผลไว้ และแอมปลิจูดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่หนึ่งและสองจะได้รับการตรวจวัด (ในการเปลี่ยนแปลงตามปกติคือการที่สิ่งเร้าที่สองจะก่อให้เกิดการตอบสนองแอมปลิจูดที่ต่ำกว่า)
ผู้เข้าร่วมจำนวน 242 คู่แม่-เด็ก(อายุเฉลี่ยของทารกอยู่ที่ 76 วัน) มารดาจำนวน 14 คนมีความความวิตกกังวลในขณะปัจจุบันหรือในอดีตและมีการใช้ยาต้านซึมเศร้า ในขณะที่ 13 คนไม่มีประวัติวิตกกังวลแต่ใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ 46 คนมีความวิตกกังวลแต่ไม่ได้ใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์และ 169 คนไม่มีความวิตกกังวลและไม่มีการใช้ยา
ทารกของมารดาที่ใช้ยามีประสาทสัมผัสเปลี่ยแปลงไปอยู่ในช่วงปกติ ในขณะที่ทารกของมารดาที่มีความวิตกกังวลแต่ไม่ได้ใช้ยามีความบกพร่องคือการที่การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สองไม่ลดลง สิ่งที่พบในหญิงที่ได้รับการรักษาโรควิตกกังวลยังคงมิได้มีนัยสำคัญหลังจากควบคุมตัวเปรียบเทียบหลายๆ ตัวแล้ว และการศึกษาวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าการใช้ยาต้านซึมเศร้าภายหลังคลอดไม่ได้เป็นตัวแปรที่สำคัญ
ในหัวข้อความคิดเห็นกล่าวไว้ว่า ถึงแม้ว่าผลการวิจัยไม่ได้รวมการเปรียบเทียบในหลายๆ อย่าง แต่ผลจะเด่นเพราะการเปลี่ยนแปลงประสาทสัมพันธ์กับพยาธิวิทยาของจิตใจที่สำคัญหลาย ๆ อย่าง (e.g., JW Psychiatry Oct 29 2007) ดังนั้นข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้อาจนำมาใช้ในการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจระหว่างความเสี่ยงและประโยชน์ที่ในการรักษาโรควิตกกังวลในหญิงตั้งครรภ์ ในอนาคตการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประสาทสัมผัสที่ใช้การรักษาด้วยวิธีไม่ใช้ยา เช่นการรักษาด้วย cognitive-behavioral therapy จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

Ref: http://psychiatry.jwatch.org/cgi/content/full/2012/611/1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น