JAMA: The Journal of the American Medical Association
February 22/29, 2012, Vol 307, No. 8
ในผู้ป่วยวัยที่มีโรคตับการที่จะสามารถระบุแนวโน้มของการมีโรคตับแข็งด้วยวิธีที่ไม่ลุกล้ำถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย
ผลการศึกษา มีผู้ป่วย 19,533 คน เป็นศึกษาด้วยวิธี meta-analysis โดยมี 4,725 คนที่มีผลชิ้นเนื้อยืนยัน (อัตราความชุก 24%; 95% CI, 20%-28%), การตรวจร่างกายหลายๆอย่างและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นเพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ (likelihood) ของตับแข็ง รวมทั้งการมีน้ำในช่องท้อง (LR,7.2;95%CI,2.9-12) เกล็ดเลือดที่ต่ำกว่า 160,000 /uL (LR,6.3;95%CI,4.3-8.3), spider nevi (LR,4.3;95%CI2.4-6.2) หรือการร่วมกันของการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นร่วมกับ Bonacini cirrhosis discriminant score ที่มากกว่า 7 (LR,9.4;95% CI,2.6-37) เป็นสิ่งที่ได้รับการศึกษาบ่อย เชื่อถือได้ และมีการแสดงข้อมูล
สำหรับความเป็นไปได้ที่น้อยกว่าของการเป็นตับแข็ง พบว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดคือ Lok index ที่น้อยกว่า 0.2 (โดยคะแนนมาจาก การตรวจนับเกล็ดเลือด, AST, ALT และ INR โคยมี LR,0.09;95%CI,0.03-0.31) เกล็ดเลือดที่มากกว่า 160,000 /uL (LR,0.29;95%CI,0.20-0.39) หรือการไม่มีตับโต (LR,0.37;95%CI,0.24-0.51)
ซึ่งความพึงพอใจของแพทย์ไม่ได้แสดงให้เห็นเป็นรายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบแต่ละอย่างหรือร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
สรุปคือ การจะสามารถระบุการมีโรคตับแข็ง พบว่าการมีลักษณะทางคลินิกที่หลากหลายหรือการมีความผิดปกติร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นจะสะท้อนถึงพยาธิสรีระวิทยาที่มีอยู่เดิมจะเพิ่มความน่าจะเป็นของโรคตับแข็ง และเพื่อที่จะตัดแยกโรคตับแข็งออกไป ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เป็นปกติร่วมกันจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุด
Ref: http://jama.jamanetwork.com/pdfaccess.ashx?ResourceID=2501440&PDFSource=13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น