-National Center for Biotechnology Information
-Journal watch
ดัชนีมวลกาย (body-mass index, BMI) จะมีความเกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวหรือไม่ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่มีความชัดเจน ความสัมพันธ์ที่อาจจะเป็นไปได้มีการสำรวจในประชากรของฮ่องกง โดยมีอาสาสมัคร 2600 คน (ช่วงอายุระหว่าง 21-63 ปี) โดยที่แต่ละคนได้รับการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) ของกระดูกสันหลังระดับเอว
ตามเกณฑ์มาตรฐานของ MRI พบว่า 73% ของผู้เข้าร่วมอย่างน้อยพบมีหลักฐานที่น้อยที่สุดของการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง ความชุกและความรุนแรงของการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดใน BMI ทั้งสี่ประเภท (ได้แก่ น้ำหนักน้อย, น้ำหนักปกติ, น้ำหนักเกิน และภาวะอ้วน)
เมื่อเทียบกับภาวะน้ำหนักดัวน้อยหรือปกติ ผู้ที่อ้วนพบว่ามีนัยสำคัญมากขึ้น (odds ratio, 1.7) ซึ่งจะมีอย่างน้อยหนึ่งระดับของความเสื่อมร่วมกับการมีระดับความผิดปกติสูงสุด (nucleus pulposus มีความหนาแน่นน้อยและช่องว่างที่เป็นตำแหน่งของหมอนรองกระดูกแคบลง) และมีความเกี่ยวข้องกับหลายระดับ ซึ่งสิ่งที่พบเหล่านี้มีความเป็นอิสระจากอายุและประวัติของการบาดเจ็บหลังระดับเอว
ในหัวข้อสรุปได้กล่าวว่า เป็นการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในการประเมินอย่างเป็นระบบเพื่อดูความเสื่อมของหมอนรองกระดูกระดับเอวโดยการใช้ MRI ซึ่งแสดงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างการมี ขอบเขตและความรุนแรงการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวกับน้ำหนักของร่างกายในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและผู้ที่อ้วน
Ref: http://general-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/524/5
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22287295?dopt=Abstract
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น