Origenal article
N Engl J Med May 17, 2012
ยังไม่เป็นที่ทราบกันว่าการรักษาด้วย warfarin หรือ aspirin จะดีกว่ากันในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่จังหวะการเต้นของหัวใจเป็น sinus
โดยในการศึกษานี้ได้ออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบว่า warfarin (มี INR 2.0-3.5) หรือ aspirin (ขนาด 325 มก. ต่อวัน) เป็นรักษาที่ดีกว่ากันสำหรับผู้ป่วยที่จังหวะการเต้นของหัวใจเป็น sinus ซึ่งมีการลดลงของการบีบตัวหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricular ejection fraction, LVEF) โดยการติดตามผู้ป่วย 2,305 คนเป็นเวลา 6 ปี (mean [± SD], 3.5 ± 1.8) ผลลัพธ์หลักที่ประเมิน (primary outcome) คือช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ครั้งแรกของโรคหลอดเลือดสมองตีบ การมีเลือดออกในสมองหรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ
ผลการศึกษา อัตราผลลัพธ์หลักที่ประเมินคือ 7.47 เหตุการณ์ต่อ 100 ผู้ป่วย/ปี ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย warfarin และ 7.93 ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย aspirin (hazard ratio กับ warfarin, 0.93; ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI], 0.79-1.10, p = 0.40) ดังนั้นไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญโดยรวมระหว่างสองการรักษา การวิเคราะห์ในเวลาที่แตกต่าง พบว่า hazard ratio มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเวลาผ่านไป โดยมีแนวโน้มไปทางด้าน warfarin มากกว่า aspirin ณ.ปีที่สี่ของการติดตาม แต่สิ่งที่พบนี้อยู่ในช่วงก้ำกึ่งว่าจะมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.046)
โดย warfarin เมื่อเทียบกับยา aspirin มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญในการลดลงของอัตราโรคหลอดเลือดสมองตีบ-อุดตันตลอดระยะเวลาการติดตาม (0.72 เหตุการณ์ต่อ 100 คน/ปีเมื่อเทียบกับ 1.36 เหตุการณ์ต่อ 100 คน/ปี -; hazard ratio, 0.52, 95% CI , 0.33-0.82, P = 0.005) อัตราการมีเลือดออกที่มีความรุนแรงคือ 1.78 เหตุการณ์/100 คน/ปี ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ warfarin เทียบกับ 0.87 เหตุการณ์/100 คน/ปี ในกลุ่มที่ได้ aspirin (p <0.001) อัตราการมีเลือดออกเลือดในสมองและในกระโหลกศรีษะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างคนทั้งสองกลุ่มการรักษา (0.27 เหตุการณ์ต่อ 100 คน/ปี ของผู้ป่วยที่ได้ warfarin และ 0.22 เหตุการณ์ต่อ 100 คน/ปี ที่ได้แอสไพริน, P = 0.82)
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ในผู้ป่วยที่มีค่า LVEF ลดลง โดยจังหวะการเต้นของหัวใจเป็น sinus พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผลลัพท์หลักที่ประเมินระหว่างการรักษาด้วย warfarin และการรักษาด้วยยา aspirin การลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดใน warfarin ถูกชดเชยโดยการเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกที่สำคัญหรือรุนแรง ( major hemorrhage) ซึ่งการเลือกระหว่าง warfarin และ aspirin ควรจะเป็นพิจารณาเป็นรายบุคคล
อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1202299
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
1,803 Warfarin and aspirin in patients with heart failure and sinus rhythm
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Drug
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น