Journal watch
มีหลักฐานเพียงพอที่บอกว่าภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลันไม่ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นไอกรน หรือมีโรคปอดที่สำคัญเดิม ผู้ศึกษาได้ทบทวนข้อมูลการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันที่แผนกฉุกเฉินของ 2 สถาบันใน San Diegoในปี 2008
จากผู้ป่วยจำนวน 836 คนที่ได้รับการวินิจฉัยของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน พบว่า 74% ได้รับการให้ยาปฏิชีวนะ และได้รับการให้ 87% ในผู้ป่วยเอชไอวีเอดส์หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอื่นๆ, 81% ในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง, 76% ในผู้ป่วยโรคหอบหืด, 77% ป่วยด้วยโรคเบาหวาน, 74% ในผู้ที่มีโรคร่วมมากกว่าหนึ่งโรค, และ 72%
ในผู้ที่ไม่มีโรคร่วมใดๆ โดยในบรรดาผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหอบหืดพบว่า 50% ได้รับการให้ยาขยายหลอดลม
ในหัวข้อความคิดเห็นได้กล่าวไว้ว่า การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปในหลอดลมอักเสบเฉียบพลันยังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง แม้จะมีการเผยแพร่แนวทาง มีการให้ศึกษาและแสดงให้เห็นหลักฐาน
การลองให้ยาขยายหลอดลมมีความปลอดภัย มีความเป็นเหตุผลและอาจตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยในการสั่งการรักษามากกว่า การเตือนผู้ป่วยว่าการได้รับยาปฏิชีวนะพบว่ามีความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญของผลกระทบและปฏิกิริยาต่อทั่วร่างกายซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักว่าพวกเขามีความโชคดีที่จะไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ต้องระวังว่าไอกรนเป็นโรคประจำถิ่น (ในบางพื้นที่) ที่มีภูมิต้านทานประมาณ 10 ปี เพื่อพิจารณาการตรวจหาไอกรนในผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมอักเสบและรักษาผู้ป่วยไอกรนที่เป็นมาน้อยกว่า 4 สัปดาห์
Ref: http://emergency-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/511/2
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
1,794 Antibiotics are overprescribed for acute bronchitis
ป้ายกำกับ:
Drug,
Ear nose throat,
Infectious disease
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น