วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

1,787 Mild therapeutic hypothermia may benifit patients in cardiogenic shock

Journal watch
เพื่อที่จะประเมินประสิทธิภาพของการรักษาโดยการลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงเล็กน้อยในผู้ป่วย cardiogenic shock หลังจากได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพจากภายนอก รพ. เนื่องมาจากภาวะหัวใจหยุดทำงาน (cardiac arrest) ผู้ทำการศึกษาวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลลัพท์ในผู้ป่วย 20 คน โดยการใช้ historic propensity-score เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้การรักษาดังกล่าวในแผนกฉุกเฉินในประเทศเยอรมัน
โดยมีผู้ป่วย 25 คนที่ผ่านเกณฑ์เข้าศึกษา (ความดันโลหิต น้อยกว่า 90 มม. ปรอท, Glasgow Coma Scale score น้อยกว่า 8 ) โดย 5 คนถูกตัดออกจากการวิเคราะห์เนื่องจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สันนิษฐานว่าจะเกี่ยวข้องกับการรักษาได้แก่ profuse pulmonary หรือเลือดออกในทางเดินอาหารและ ventricular tachycardia
การทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงจะเริ่มทำในรถพยาบาลโดยการให้น้ำเกลือที่เย็น 2 ลิตรทางหลอดเลือดโดยอุณหภูมิเป้าหมายคือ 33 ° C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
พบว่าการชักนำให้เกิดการลดลงของอุณหภูมิ สามารถลดลงอัตราการเต้นหัวใจจาก 74 เป็น 64 ครั้งต่อนาทีอย่างมีนัยสำคัญ เพิ่ม ejection fraction จาก 43% เป็น 55% และเพิ่มความต้านทานของระบบ หลอดเลือด ทำให้ลดปริมาณยาที่ต้องใช้เพื่อการหดตัวของหลอดเลือด (vasopressors) และยาที่เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ (inotropes) กว่าตัวควบคุม (โดย norepinephrine เทียบกับ 8.7 มก. เทียบกับ  20.5 มก.; epinephrine 0.74 มก. เทียบกับ 8.4 มก. ) ผู้วิจัยคาดการณ์ภาวะว่าการที่อุณหภูมิร่างกายลดลงก่อให้เกิด vasoconstriction นำไปสู่การรักษาเสถียรภาพของค่าเฉลี่ยความดันเลือดแดงทำให้การใช้ยาเพื่อการหดตัวของหลอดเลือดน้อยลง
การลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงเล็กน้อยมิได้ไม่มีความเสี่ยงและสามารถนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด โปแตสเซียมในเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับการมีเลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก แม้ว่ารูปแบบแนวทางที่ใช้ในการศึกษาขนาดเล็กนี้แสดงผลดีบางอย่าง ในปัจจุบันแนวทางของสมาคมหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) ยังไม่แนะนำวิธีนี้และควรจะติดตามต่อไป

Ref: http://emergency-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/504/2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น