หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

1,781 Urticaria: evaluation and treatment

American Academy of Family Physicians
Schaefer P 
May 1 2011 Vol. 83 No. 9

ลมพิษจะมีอาการคันอย่างมาก ผื่นยกนูนขึ้น อาจจะมีหรือไม่มีการบวมของผิวหนังชั้นลึกก็ได้ มักจะหายได้เอง ปฏิกิริยาที่เกิดไม่ค่อยรุนแรง แต่อาจจะมีลักษณะเรื้อรัง พบน้อยมากที่จะเป็นลักษณะนำของการเกิดโรคตามระบบที่ร้ายแรงหรืออันตรายถึงชีวิตจากปฏิกริยาการแพ้ ลมพิษมีความชุกตลอดชีวิตประมาณร้อยละ 20 ในประชากรทั่วไป สาเหตุเป็นได้จากทั้ง immunoglobulin E (IgE) และที่ไม่ใช่ IgE ซึ่งเป็นตัวกลางให้ mast cell และ basophil หลั่งสารฮีสตามีน และสารสื่อการอักเสบอื่นๆ ออกมา
การวินิจฉัยโดยใช้ลักษณะทางคลินิก ลมพิษเรื้อรังมักเป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุและมักจะต้องการเพียงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการสืบค้นแบบง่าย ๆ ยกเว้นว่าข้อมูลจากประวัติหรือการตรวจร่างกายสนับสนุนว่าเกิดจากสภาวะโรคที่เฉพาะเจาะจง
การรักษารวมถึงการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น แม้สาเหตุสามารถจะระบุได้ใเพียง 10 - 20 % ของผู้ป่วยที่มีผื่นลมพิษเรื้อรัง ยาที่เป็นตัวเลือกแรกในการรักษาลมพิษเฉียบพลันและเรื้อรังคือ ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่สองชนิดไม่ง่วง (nonsedating second-generation antihistamines)  ซึ่งเป็นยาต้านฮีสตามีนชนิดที่ 1 โดยสามารถปรับขนาดได้มากกว่าขนาดมาตรฐาน ส่วนยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรก, histamine H2 blockers, leukotriene receptor antagonists และการให้ corticosteroid สั้น ๆ ในระยะเฉียบพลันอาจจะใช้เป็นรักษาร่วม ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีผื่นลมพิษเรื้อรังจะมีอาการดีขึ้นภายในหนึ่งปี

อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2011/0501/p1078

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น